Home ไลฟ์สไตล์ By TipLife ‘หมู่บ้านเหลียงเจียเหอ’ ในความผูกพันกับ “ปธน.สีจิ้นผิง” ตอนที่ 2

‘หมู่บ้านเหลียงเจียเหอ’ ในความผูกพันกับ “ปธน.สีจิ้นผิง” ตอนที่ 2

1042
0
SHARE

วันที่ 14 สิงหาคมปี 2004 นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน มณฑลเจ้อ เจียงในสมัยนั้นให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุและโทรทัศน์เอี๋ยนอาน ขณะตอบคำถามว่า มองตนเป็นชาวเอี๋ยนอานแท้หรือเปล่านั้น นายสี จิ้นผิงตอบโดยไม่ลังเลว่า “ผมมองตนเป็นชาวเอี๋ยนอานแท้ เพราะนี่คือจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิตผม แนวคิดพื้นฐาน ทุกอย่างที่เป็นผมในทุกวันนี้ส่วนใหญ่เริ่มต้นที่เอี๋ยนอาน ผมจึงมองตัวเองเป็นชาวเอี๋ยนอานแท้โดยไม่ต้องสงสัย”

วันที่ 22 ธันวาคมปี 1968 เหมา เจ๋อตงเรียกร้องว่า “มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้บัณฑิตที่เป็นวัยรุ่นเดินทางไปอยู่ในชนบท ฝึกอบรมโดยเกษตรกรในทุกระดับ ” นักศึกษาทั่วประเทศจีน จำนวน 17 ล้านคน ตอบรับข้อเรียกร้องดังกล่าว เริ่มต้นออกเดินทาง เริ่มชีวิตในชนบท ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี ปธน. สี จิ้นผิงในวัยหนุ่มด้วย จุดเริ่มต้นของการเดินทางคือกรุงปักกิ่ง ไปถึงเมืองเอี๋ยนอาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งการปฏิวัติจีน บัณฑิตวัยรุ่น 15 คนถูกจัดให้เดินทางไปทำงานที่เหลียงเจียเหอ ตอนนั้น ปธน. สี จิ้นผิงมีอายุน้อยที่สุดในบรรดานักศึกษา 15 คน  ในขณะที่ชาวบ้านก็สังเกตวัยรุ่นที่เดินทางมาจากกรุงปักกิ่ง วัยรุ่นเหล่านี้ก็สังเกตชาวบ้านเช่นกัน

ปี 2004 ปธน. สี จิ้นผิง ทบทวนความทรงจำเรื่องราวในสมัยนั้น ขณะให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุและโทรทัศน์เอี๋ยนอานว่า เรื่องที่คนในหมู่บ้านพูดถึงเขามากที่สุด มีอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เอาขนมปังเลี้ยงหมา เขาเล่าว่าตอนที่เก็บกระเป๋า พบขนมปังครึ่งชิ้นที่เอามาจากกรุงปักกิ่ง ซึ่งก็ขึ้นราแล้ว เลยโยนให้หมากิน ชาวบ้านตอนนั้นไม่เคยเห็นขนมปัง และไม่เคยกินด้วย เมื่อได้ยินจากปธน.สี จิ้นผิงว่า มันคือขนมปัง ชาวบ้านคาดไม่ถึงว่าจะเอาของดี ๆ ไปเลี้ยงหมาทำไม ก็เลยวิจารณ์ว่าบัณฑิตคนนี้ไม่รู้ถึงคุณค่าของอาหาร ข่าวลือไปทั่วหมู่บ้าน ท้ายที่สุดเป็นที่รู้กันทั่วอำเภอเอี๋ยนชวน ในหนังสือเรื่อง “ผมเป็นบุตรชายดินเหลือง” นั้น สี จิ้นผิง รู้สึกผิดกับหลายเหตุการณ์ที่หมู่บ้านเหลียงเจียเหอ โดยเล่าว่า “ช่วงเดินทางไปทำงานที่หมู่บ้าน ผมอายุน้อย ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่ได้สังเกตเรื่องความสามัคคี คนอื่นเขาทำงานทุกวัน ผมกลับทำตามใจตัวเอง จึงทำให้ชาวบ้านไม่ค่อยประทับใจผมนัก” ความสามัคคีที่สี จิ้นผิงกล่าวนั้น มาจากการสั่งสอนของสี จ้งซุน ผู้เป็นบิดา “พ่อมักจะสั่งสอนความหมายของความสามัคคี เรียกร้องให้เราเป็นคนเน้นความสามัคคีและอยู่ร่วมกับคนอื่น การอยู่ร่วมกับคนอื่น หากถือตนเป็นใหญ่ในทุกเรื่อง ไม่ถูกต้องแน่นอน” เมื่อคิดถึงเรื่องความสามัคคีที่พ่อสอน ปธน.สี จิ้นผิง เริ่มปรับตัวเข้ากับชาวบ้าน เข้ากับชนบท และค่อย ๆ ฝังรากการอยู่ร่วมกันกับประชาชนด้วยความสามัคคี การอยู่ร่วมกับผู้คนอย่างสามัคคีกลายเป็นหนึ่งในสไตล์การเป็นผู้นำที่โดดเด่นที่สุดของ ปธน.สี จิ้นผิง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้ ปธน. สี จิ้นผิง พยายามลดช่องว่างระหว่างเด็กปักกิ่งกับเด็กชนบท