Home ข่าวทั่วไปรอบวัน พายุมากันยายน 

พายุมากันยายน 

743
0
SHARE

 

 

มีการประชุม อนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ  ที่ทำเนียบรัฐบาล  เมื่อบ่ายวันที่ 24 ส.ค.2561   หลังจากนั้น  นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.) แถลงแก่ผู้สื่อข่าว ว่า

 

ที่ประชุมได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ จัดทำแผนการระบายน้ำรองรับพายุลูกใหม่ที่กำลังจะเข้ามาในเดือนกันยายนนี้ โดยจะนำสถิติเก่ามาเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะสถานการณ์น้ำเปลี่ยนไป เนื่องจากมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่มีปริมาณน้ำเกิน 80% แล้ว กว่า 10 แห่ง รวมถึงระดับน้ำเกินเกณฑ์ควบคุมอีก 7 แห่ง และแม้เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี จะมีรบริหารจัดการน้ำได้ดี แต่ต้องเพิ่มกำลังบริหารจัดการน้ำ และอ่างเก็บน้ำน้ำอูน จ.สกลนคร ที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 100%  ขณะที่เขื่อนวชิราลงกรณ์  ที่มีระดับน้ำเกินเกณฑ์ควบคุมมีการปล่อยน้ำวันละ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) และเพิ่มการปล่อยน้ำวันละ 53 ล้าน ลบ.ม.แล้ว โดยจะต้องจัดทำแผนขึ้นใหม่ว่าจะสามารถเร่งระบายก่อนที่พายุจะเข้ามา หรือจะยอมปล่อยให้พื้นที่ท้ายน้ำท่วม เพื่อบริหารจัดการว่าจะปล่อยน้ำหรือไม่สนทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งทำแผนให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า   เนื่องจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะได้รับผลกระทบจากพายุลูกใหม่ ขณะเดียวกันมีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างต่ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะต้องหามาตรการรับมือ เช่น การจัดทำฝนหลวง และแผนการส่งน้ำเพื่อเพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย  นอกจากนี้ ที่ประชุมยังสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบ   ระบบโทรมาตร  ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือ สสนก. พิจารณาติดตั้งระบบโทรมาตรวัดน้ำฝนบริเวณพื้นที่ต้นน้ำสำคัญๆ   ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เช่น เขื่อนแก่งกระจาน รวมทั้งอ่างเก็บน้ำของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานด้วย รวมถึงที่ประชุมเน้นย้ำให้การจัดทำข้อมูลมีความเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะของ สทนช. กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนประชาชน ก่อนที่จะน้ำจะเข้ามา

 

matemnews.com 

24 สิงหาคม 2561