เฟชบุ้ค European Union in Thailand
สืบเนื่องจากการคาดคะเนในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการส่งคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะออกคำชี้แจงดังต่อไปนี้:
ตั้งแต่ปี 1993 สหภาพยุโรปได้สังเกตการณ์การเลือกตั้งใน 65 ประเทศเป็นอย่างน้อย ซึ่งรวมไปถึงประเทศในแถบอาเซียน (อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมาร์) และ ติมอร์-เลสเต
การสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป (EOM) นั้น จะสามารถลงพื้นที่ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับเชิญจากเจ้าหน้าที่ทางการให้มาสังเกตการณ์ นอกเหนือไปจากนั้น การสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรปยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งมีความสอดคล้องตรงกันกับปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยหลักการในการสังเกตการณ์การเลือกตั้งสากล ซึ่งผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรปจะต้องปฏิบัติตาม โดยความเป็นธรรม การไม่แทรกแซง ความเคารพต่อกฎระเบียบและกฎหมายของประเทศ รวมไปถึงการสังเกตการณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและตรวจสอบได้ เป็นพลังในการทำงานการสังเกตการณ์ของสหภาพยุโรป
ในกรณีของประเทศไทย สหภาพยุโรปไม่ได้เตรียมการในการลงพื้นที่สังเกตการณ์การเลือกตั้ง แต่หากประเทศไทยมีความสนใจที่จะให้สหภาพยุโรปมาร่วมงานในด้านนี้ ทางสหภาพยุโรปสามารถที่จะพิจารณาส่งทีมภารกิจการสำรวจ เพื่อมาพบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของไทย และประเมินว่าการส่งทีมการสังเกตการณ์การเลือกตั้งนั้นจะมีประโยชน์และสามารถทำได้หรือไม่ โดยที่ยังเคารพต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในการประเมินก็คือ ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ทางการที่จะส่งจดหมายเชิญให้อียูสามารถดำเนินการสังเกตการณ์การเลือกตั้งได้อย่างทันท่วงที ซึ่งตอนนี้ทางสหภาพยุโรปยังไม่ได้รับจดหมายเชิญ นอกจากนี้ทีมภารกิจการสำรวจยังมีหน้าที่ในการประเมินจำนวนของผู้สังเกตการณ์ที่จะลงพื้นที่อีกด้วย
Following speculation in the media about a possible European Union Election Observation Mission, the Delegation of the European Union to the Kingdom of Thailand wishes to issue the following clarification:
The EU has observed elections in at least 65 countries since 1993, including ASEAN countries (Indonesia, Cambodia, Myanmar) but also Timor Leste, etc.
An EU Election Observation Mission (EOM) is deployed only where the EU is invited by the authorities to observe. In addition, all EU election observers are bound by a Code of Conduct which is in harmony with the UN Declaration of Principles for International Election Observation to which EU observers should also adhere. Impartiality, non-interference, respect for national laws and regulations, and factual and verifiable observation drive EU Observers’ work.
In the case of Thailand, the EU is not preparing the deployment of an EOM. In case there is interest of Thailand to engage with the EU on this matter, the EU could consider sending an exploratory mission to meet with all national stakeholders and assess whether such a mission would be useful, feasible and recommendable in full respect for the country’s sovereignty. One key element to evaluate would be the readiness of the authorities to make a timely invitation for the EU to observe the elections. Such an invitation has so far not been received. Also, the exploratory mission would be tasked to define the number of observers to be deployed.
matemnews.com
12 พฤศจิกายน 2561