วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และภริยา เข้าร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 100 ปี การยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 และพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
วันที่ 11 เดือน 11 ค.ศ. 2018 ถือเป็นวันครบรอบ 100 ปี การยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยในช่วงสงคราม ประเทศไทย หรือสยาม (ในขณะนั้น) ได้ส่งทหารอาสาไปร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมิยุโรป ในสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็น 1 ใน 3 ประเทศเอเชียที่ประกาศร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร
โดยสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นยืดเยื้อยาวนานถึง 4 ปี จนกระทั่งเยอรมนีได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 (พ.ศ 2461) จึงถือให้ทุกวันที่ 11 เดือน 11 ของทุกปี ถือเป็นวันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ
ภายหลังหลังสงครามสิ้นสุด สยามได้ก้าวสู่การเป็นส่วนหนึ่งประชาคมโลก ได้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) เมื่อปี ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาสำคัญในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยและเสรีภาพทางการค้ากับตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเปิดทางสู่การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ
โดยในพิธีรำลึกจะประกอบด้วยพิธีสำคัญ อาทิ การตรวจแถวธงและการตรวจแถวทหาร การขานนามผู้สละชีวิตเพื่อฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 การแสดงทางวัฒนธรรมและดนตรี การเติมน้ำมันไฟบริเวณหลุมศพทหารนิรนามตรงกลางประตูชัยโดยประธานาธิบดี ในขณะที่ผู้นำแตะไหล่ของผู้นั่งข้างไปเรื่อย ๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเติมน้ำมันไฟร่วมกัน การวางพวงมาลา โดยประธานาธิบดี
ทั้งนี้ ฝรั่งเศสได้เชิญผู้นำประเทศ/ผู้นำรัฐบาลของประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมถึงหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งหมดกว่า 120 คนเข้าร่วมพิธี เช่น กัมพูชา เวียดนาม อินเดีย กาตาร์ เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น เพื่อให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสันติภาพปารีส (Paris Peace Forum) ณ หอประชุมใหญ่ Grande Halle de La Villette โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นประธาน
การประชุม Paris Peace Forum ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคมในการร่วมเสนอแนวทางธรรมาภิบาลโลกรูปแบบใหม่ที่จะสามารถตอบโจทย์ความท้าทายในยุคปัจจุบันได้
ทั้งนี้ ฝรั่งเศสได้เชิญผู้นำประเทศ/ผู้นำรัฐบาลกว่า 114 คนเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum โดยการประชุมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมร่วมกันด้านสันติภาพและการปกครองในทุกมิติ ซึ่งจะมีทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์การอาสาสมัครเอกชน สมาคม และหน่วยงานที่เป็นแหล่งความคิด (Think Tank)
โดยฝรั่งเศสมุ่งหวังจะจัดการประชุม Paris Peace Forum ทุกปีหลังจากนี้ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการระดมสมองด้านสันติภาพ ธรรมาภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จากนั้น ผู้นำประเทศ/ผู้นำรัฐบาลจะถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะมอบหนังสือ พร้อมลายเซ็นต์ให้กับห้องสมุดสันติภาพ จำนวน 3 เล่ม ได้แก่
- Sufficiency Thinking: Thailand’s gift to an unsustainable world
- Thailand’s Sustainable Development Sourcebook
- A Call to Action: Thailand and The Sustainable Development Goals
โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “วันรำลึกถึงการครบรอบ 100 ปี ของการยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 ถือเป็นเครื่องเตือนใจว่าเราจะต้องไม่ทำให้โศกนาฏกรรมร้ายแรงแสนสาหัสแก่มวลมนุษยชาติเช่นนี้ เกิดขึ้นอีก สันติภาพของโลกจะเกิดขึ้นได้ต้องมีพื้นฐานจากการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาและสันติภาพที่ยั่งยืนโดยทุกคนเข้มแข็งไปด้วยกัน ผมจึงขอมอบหนังสือ 3 เล่มนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญสะท้อนแนวคิดดังกล่าวไว้ ณ ที่นี้”
เว็บไซต์รัฐบาลไทย เผยแพร่
https://goo.gl/yrGj5K
เฟชบุ้ค Wassana Nanuam
Prayut in Paris
“นายกฯบิ๊กตู่” และ “อ.น้อง” ไป ทำเนียบประธานาธิบดี ฝรั่งเศส ก่อนไปร่วมงาน 100 ปี ยุติ World War Iที่ L’Arch De Triomphe
นายกฯย้ำสันติภาพโลกเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกประเทศ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และภริยา เข้าร่วมพิธีรำลึกครบรอบ 100 ปี การยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 และพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
วันที่ 11 เดือน 11 ค.ศ. 2018 ถือเป็นวันครบรอบ 100 ปี การยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยในช่วงสงคราม ประเทศไทย หรือสยามในขณะนั้น ได้ส่งทหารอาสาไปร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมิยุโรป ในสงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็น 1 ใน 3 ประเทศเอเชียที่ประกาศร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร
โดยสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นยืดเยื้อยาวนานถึง 4 ปี จนกระทั่งเยอรมนีได้ติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตรขอเจรจาสงบศึก ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาสงบศึกบนรถไฟ ณ เมืองคองเปียน ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 (พ.ศ 2461) จึงถือให้ทุกวันที่ 11 เดือน 11 ของทุกปี ถือเป็นวันยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเป็นทางการ
ภายหลังหลังสงครามสิ้นสุด สยามได้ก้าวสู่การเป็นส่วนหนึ่งประชาคมโลก ได้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) เมื่อปี ค.ศ. 1919 (พ.ศ. 2462) ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาสำคัญในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยและเสรีภาพทางการค้ากับตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเปิดทางสู่การแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ
โดยในพิธีรำลึกจะประกอบด้วยพิธีสำคัญ อาทิ การตรวจแถวธงและการตรวจแถวทหาร การขานนามผู้สละชีวิตเพื่อฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
การแสดงทางวัฒนธรรมและดนตรี การเติมน้ำมันไฟบริเวณหลุมศพทหารนิรนามตรงกลางประตูชัย
โดยประธานาธิบดี ผู้นำแตะไหล่ของผู้นั่งข้างไปเรื่อย ๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเติมน้ำมันไฟร่วมกัน การวางพวงมาลาโดยประธานาธิบดี
ทั้งนี้ ฝรั่งเศสได้เชิญผู้นำประเทศ/ผู้นำรัฐบาลของประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมถึงหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งหมดกว่า 120 คนเข้าร่วมพิธี เช่น กัมพูชา เวียดนาม อินเดีย กาตาร์ เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น เพื่อให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสันติภาพปารีส (Paris Peace Forum) ณ หอประชุมใหญ่ Grande Halle de La Villette โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นประธาน
การประชุม Paris Peace Forum ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคมในการร่วมเสนอแนวทางธรรมาภิบาลโลกรูปแบบใหม่ที่จะสามารถตอบโจทย์ความท้าทายในยุคปัจจุบันได้
ทั้งนี้ ฝรั่งเศสได้เชิญผู้นำประเทศ/ผู้นำรัฐบาลกว่า 114 คนเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม Paris Peace Forum โดยการประชุมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมร่วมกันด้านสันติภาพและการปกครองในทุกมิติ ซึ่งจะมีทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม องค์การอาสาสมัครเอกชน สมาคม และหน่วยงานที่เป็นแหล่งความคิด (Think Tank)
โดยฝรั่งเศสมุ่งหวังจะจัดการประชุม Paris Peace Forum ทุกปีหลังจากนี้ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการระดมสมองด้านสันติภาพ ธรรมาภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
จากนั้น ผู้นำประเทศ/ผู้นำรัฐบาลจะถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะมอบหนังสือ พร้อมลายเซ็นต์ให้กับห้องสมุดสันติภาพ จำนวน 3 เล่ม ได้แก่
- Sufficiency Thinking: Thailand’s gift to an unsustainable world
- Thailand’s Sustainable Development Sourcebook
- A Call to Action: Thailand and The Sustainable Development Goals
โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “วันรำลึกถึงการครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการยุติสงครามโลกครั้งที่ ๑ ถือเป็นเครื่องเตือนใจว่าเราจะต้องไม่ทำให้โศกนาฏกรรมร้ายแรงแสนสาหัสแก่มวลมนุษยชาติเช่นนี้ เกิดขึ้นอีก สันติภาพของโลกจะเกิดขึ้นได้ต้องมีพื้นฐานจากการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ใช้ �หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายให้เกิด�การพัฒนาและสันติภาพที่ยั่งยืนโดยทุกคนเข้มแข็งไปด้วยกัน ผมจึงขอมอบหนังสือ ๓ เล่มนี้ ซึ่งมีสาระสำคัญสะท้อนแนวคิดดังกล่าวไว้ ณ ที่นี้”
matemnews.com
12 พฤศจิกายน 2561