Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ทำไมต้องใช้มาตรา 44 ให้หน่วยงานน้ำมาขึ้นสำนักนายกรัฐมนตรี ฟังพลเอกประยุทธ์อธิบาย

ทำไมต้องใช้มาตรา 44 ให้หน่วยงานน้ำมาขึ้นสำนักนายกรัฐมนตรี ฟังพลเอกประยุทธ์อธิบาย

932
0
SHARE

 

 

นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ นำคณะผู้แทนประเทศไทยที่เดินทางกลับจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศประจำปี พ.ศ. 2560 เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ตึกสันติไมตรี หลังนอก ทำเนียบรัฐบาล เมื่อตอนเช้าวันที่ 10 ส.ค.2560  กับเด็กคณิตศาสตร์พล.อ.ประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งในระหว่ากงล่าวมห้โอวาทความว่า

 

“รัฐบาลกำลังดำเนินการปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ เพื่อบูรณาการให้งานเดินหน้าอย่างต่อเนื่องและไม่ติดขัด เช่น เรื่องของน้ำ ผมก็ให้นำกลับมาขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ขับเคลื่อนเอง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการวิจัยและพัฒนา เพื่อนำมาอยู่ในกล่องเดียวกัน  ที่ผ่านมาการทำงานแยกส่วนกันทำ ผมจึงต้องมาปรับระบบใหม่ และต้องทำให้ได้ และมีประสิทธิภาพในช่วงที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ไม่เช่นนั้นอนาคตปัญหาก็เป็นแบบเดิม สำหรับปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้ง รัฐบาลมีทุกโครงการที่จะแก้ไขปัญหารวมทั้งการพัฒนาต่างๆ แต่วันนี้ทำอะไรไม่ได้ เพราะติดที่ประชาชนไม่ยินยอม เนื่องจากบางพื้นที่มีประชาชนอยู่อาศัย บางครั้งก็เป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากการปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่มานาน”

 

หลังจากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ แถลงแก่นักข่าวว่า

“การประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2560  ที่ประชุมมีการเห็นชอบในหลักการ เพราะต้องการให้เห็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ครบวงจร  ผมสั่งให้มีการปรับแผน เพื่อแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อน  มีโครงการที่ต้องแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนให้ได้ ทั้งการขุดลอกคูคลอง การผันน้ำ  ต้องขอความร่วมมือจากประชาชน ต้องมีการเสียสละพื้นที่กันบ้าง ไม่อย่างนั้นก็จะทำไม่ได้  ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ของเอกชน และประชาชน รัฐบาลจะหามาตราการดูแล เยียวยา ให้เหมาะสม  การที่ผมปรับในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำมาอยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่หมายความว่า เดิมเขาทำไม่ได้ผล เขาทำมาเยอะ เดี๋ยวผมจะสรุปให้ในรายการศาสตร์พระราชาฯ ในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2560 จะเป็นตัวอย่างให้ดูว่า 3 ปีที่ผ่านมา เราทำอะไรไปบ้าง และในปี 2560-2561 ที่จะต้องเร่งดำเนินการในส่วนของความยั่งยืน พื้นที่ไหนที่น้ำท่วม พื้นที่ไหนที่แล้ง อย่างน้อยต้องแก้ปัญหาได้ 30-50% เพราะถ้าแก้ 100% ต้องทำใหญ่มาก ต้องใช้ทั้งงบประมาณ เวลา และต้องทำต่อไป เขาทำได้ดี แต่มันกระจายอยู่หลายหน่วยงาน ผมไม่ได้เอาทุกหน่วยงานมา  เพียงแต่เป็นสำนักงานในการขับเคลื่อนบริหารจัดการน้ำ ทั้งระบบและสั่งการในกรอบนโยบาย ดูแลงบประมาณบูรณาการ ผมต้องการขับเคลื่อน ในทุกกิจการบูรณาการของรัฐบาล  ส่วนที่ว่าจะมีการใช้มาตรา 44 ยุบรวมหน่วยงานน้ำ  มาสังกัดสำนักนายกฯนั้นผมยืนยันว่าไม่ใช่ แต่เป็นเรื่องของการปรับโครงสร้าง จะสอดคล้องกับ พ.ร.บ.บริหารจัดการน้ำ ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของสนช. เพื่อที่จะรองรับ การย้ายหน่วยงานจัดการน้ำมาอยู่สำนักนายกรัฐมนตรี จึงปรับให้สอดคล้องกัน ส่วนการออกมาตรา 44 นั้นเพื่อใช้ระหว่างรอกฎหมาย ทุกอย่างก็เป็นกฎหมายหมด ไม่ใช่นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ ทำแล้วต้องมีเหตุผล เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อน บูรณาการ และแก้ไขปัญหากฎหมายที่ขัดแย้งกันอยู่  ในขณะเดียวกันกฎหมายกำลังแก้ไขอยู่ในสภา ต้องปลดล็อคไปก่อน แต่ไม่ออกนอกกรอบความเป็นสากล”

 

 

Matemnews.com  10 สิงหาคม 2560