นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน เมื่อเช้า 20 พ.ย.2561 ประเด็น ผลการของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ประกอบด้วย คนนอก จำนวนเกือบทั้งหมด กรณี รพ.พระราม2 ถูกร้องเรียนว่าไม่รับรักษาหญิงถูกสามีสาดน้ำกรด ให้ไปโรงพยาลาลอื่น จนคนไข้ตายในเวลาต่อมา
นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ กล่าวว่า นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ได้พาฝ่ายเหยื่อผู้เสียหายมาพูดคุยด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีฝ่ายเจ้าหน้าที่ รพ.พระราม รวมทั้ง รพ.บางมด เข้าร่วมประชุมชี้แจงในครั้งนี้ด้วย ผลสรุปการประชุม มี 5 กรณีดังนี้
กรณีที่ 1 ได้ให้พยาบาลเป็นผู้ตรวจประเมินวินิจฉัยอาการผู้ป่วยโดยที่ไม่มีแพทย์ ทางคณะกรรมการฯเห็นว่า อาจจะเข้าข่ายในเรื่องการไม่ควบคุมดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลผิดไปจากที่ได้ขออนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท มีมติเป็นเอกฉันท์ให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยจะดำเนินคดีในชั้นศาล เพราะมีโทษจำคุก
กรณีที่ 2 พยาบาลให้การตรวจรักษาได้รายงานผู้ดำเนินการให้ทราบ จากนั้นผู้ดำเนินการได้สั่งให้รับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยใน นั่นแสดงว่าผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ ทางคณะกรรมการฯมีมติว่า อาจจะเข้าข่ายไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท มีมติให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษไปสู่กระบวนการยุติธรรมแก่ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลเช่นเดียวกับกรณีที่ 1
กรณีที่ 3 ไม่ให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือตรวจคัดแยกผู้ป่วยตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ อาจจะเข้าข่ายความผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและ พ.ร.บ.สถานพยาบาล โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท คณะกรรมการฯมีมติให้เปรียบเทียบปรับ ผู้จะต้องถูกลงโทษในกรณีนี้คือผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการกับผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
กรณีที่ 4 ไม่ได้ดูแลให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องรักษาพยาบาลฉุกเฉิน อาจจะเข้าข่ายผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ไม่ได้ควบคุมการดูแลและเยียวยาผู้ป่วย โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท คณะกรรมการฯมีมติให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ส่งศาลพิจารณาต่อไป ผู้กระทำความผิดคือผู้ได้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
กรณีที่ 5 เมื่อได้รบการช่วยเหลือเยียวยาและอ้างว่าผู้ป่วยประสงค์จะไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลอื่น เข้าข่ายการส่งต่อผู้ป่วยโดยไม่เหมาะสม โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท คณะกรรมการฯมีมติให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ
ที่ประชุม มีมติให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษใน 4 กรณี มีเพียง 1 กรณีที่เปรียบเทียบปรับ แต่ผลการประชุมคณะกรรมการฯมีมติรวมให้แจ้งความร้องทุกข์ทั้งหมด โดยทางกองกฏหมายจะส่งเรื่องไปที่อธิบดี และทำตามมติของคณะกรรมการต่อไป โดยจะเริ่มดำเนินการร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สน.ท่าข้าม ในวันที่ 21 พ.ย. จากนั้นตำรวจก็จะเริ่มเรียกผู้เกี่ยวข้องมาให้ปากคำต่อไป
matemnews.com
20 พฤศจิกายน 2561