Home ข่าวทั่วไปรอบวัน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือให้ผู้แทนพรรคการเมือง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือให้ผู้แทนพรรคการเมือง

471
0
SHARE

https://goo.gl/sogsYj

มีเวทีเสวนาหัวข้อ “ปลดล็อกสื่อมวลชน คืนเสรีภาพประชาชน เดินหน้าสู่ประชาธิปไตย” ที่สมาคมนักข่าวฯ ถ.สามเสน กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2561

นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ที่ปรึกษาอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และอดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  กล่าวแสดงความคิดเห็น  ว่า

“แม้ปัจจุบันคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะปลดล็อกให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้งในเดือน ก.พ.62 แล้ว แต่สื่อมวลชนยังไม่อาจทำงานได้เต็มที่ เพราะยังติดประกาศและคำสั่ง คสช.อยู่  หลายฉบับ  อาทิ ประกาศ คสช.ฉบับที่ 97/2557 สาระสำคัญคือห้ามเชิญอดีตข้าราชการ อดีตกรรมการองค์กรอิสระ รวมถึงนักวิชาการมาแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อในลักษณะก่อให้เกิดความขัดแย้ง และห้ามนำเสนอเนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคง   หมายถึงการห้ามวิพากษ์วิจารณ์ คสช.  เครือข่ายองค์กรสื่อแขนงต่างๆ ได้ขอเข้าชี้แจงกับ คสช.ว่าประกาศฉบันี้ไม่ได้ทำให้สังคมดีขึ้น   กฎหมายปกติก็เพียงพอจะดำเนินคดีกับสื่อที่ทำผิดอยู่แล้ว  แต่ต่อมากลับมีประกาศ คสช.ฉบับที่ 103/2557 เนื้อหาแก้ไขประกาศฉบับที่ 97/2557 ออกมา  เพิ่มคำว่า “โดยเจตนาไม่สุจริต – ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ” คำถาม  คือ   แล้วใครจะบอกได้ว่าเจตนาสุจริตหรือไม่ หรือใครจะบอกได้ว่าข้อความอย่างไรเป็นเท็จ   จากนั้นมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เนื้อหาสอดคล้องกับประกาศข้างต้นเหมือนเดิม คือ ห้ามเผยแพร่เนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคง และสุดท้ายคือคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 41/2559 ท  ระบุว่า  การปิดสื่อวิทยุและโทรทัศน์โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ต้องรับผิดใดๆ  รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มาตรา 34 – 35 คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน ดังนั้นเป็นที่ชัดเจนว่า  ประกาศและคำสั่ง คสช. ข้างต้นขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ  แล้วก็ต้องย้ำว่าถึงจะมีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา ประกาศและคำสั่งเหล่านี้ก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการออกกฎหมายมาแก้ไขยกเลิก  เหมือนกรณีของคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 (ปร.42) ที่ออกในสมัยรัฐประหาร 2519 และกว่าจะยกเลิกได้ต้องรอจนถึงปี 2533  ผมเข้าใจว่ารัฐบาลเปิดให้แก้ไขกฎหมายถึง 28 ธ.ค.61 แต่ถ้ายังไม่มีการเสนอยกเลิกประกาศคำสั่งแบบนี้เข้าสู่สภาก็ยังมีช่องทางอื่น  ผมไม่คิดว่าจะเป็นไปได้  แต่ก็ขอพูดไว้ว่ามาตรา 44 ยังมีอยู่ ถ้าท่านจะกรุณายกเลิกประกาศคำสั่งเหล่านี้โดยมาตรา 44 ผมคิดว่าก็จะเป็นกุศลกับประเทศนี้อย่างยิ่ง”

นายองอาจ คร้ามไพบูลย์  พรรคประชาธิปัตตย์  กล่าวว่า

“เวลานี้บ้านเมืองกำลังเข้าสู่บรรยากาศประชาธิปไตย ประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสนุกแห่งชาติ (คสช.) หลายเรื่องที่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชนจน และสื่อมวลชน ที่เห็นได้ชัด คือ คำสั่งที่ 3/2558 ข้อ 4 เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจค้นเคหะสถานและตรวจรถ ค้นเมื่อไหร่ก็ได้ ตรงนี้กระทบประชาชนโดยตรง เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า หัวหน้าคสช.ที่ออกคำสั่งเหล่านี้ กำลังจะมีชื่อในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ของพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นการทับซ้อนอำนาจที่น่าเกลียดมาก อำนาจลักษณะนี้ในประเทศที่ไม่ไกลจากบ้านเรา ก็ใช้อำนาจแบบนี้เข้าไปจัดการพรรคการเมืองที่ไม่ได้ให้การสนับสนุน  ในส่วนของสื่อเห็นได้ชัดว่าประกาศหลายฉบับกระทบสิทธิเสรีภาพสื่อ  การมีคำสั่งหัวหน้าคสช. ล้วนแต่กระทบสิทธิเสรีภาพ ถ้าคนไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง เพราะระหว่างเลือกตั้งเรากระทบกับคำสั่งเหล่านี้  บ้านเมืองคงไม่สงบสุขปกติแน่นอน ก็จะเกิดผลเสียหายต่อบ้านเมือง จึงควรเป็นการปลดล็อกเพื่อบ้านเมืองโดยรวม  ไปสู่ประชาธิปไตบได้อย่างภาคภูมิ   คำสั่งคสช.ทำให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบเพื่อตนเองและพวกพ้องหรือไม่ ถ้าปลดล็อกจะเกิดความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งจะสุจริตเที่ยงธรรม ที่สำคัญ การปลดล็อกจะทำให้เกิดการยอมรับต่อผลการเลือกตั้งอีกทางหนึ่ง การปลดล็อกคำสั่งจึงควรดำเนินการ

นายนิกร จำนง ตัวแทนจากพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า

“อำนาจพิเศษมาตรา 44 ของหัวหน้า คสช.ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ที่พ่วงอยู่ใน รธน.2560 นั้นจะหมดไปต่อเมื่อรัฐบาลชุดใหม่เข้ารับตำแหน่ง ดังนั้นต้องเรียกร้องให้ คสช.รีบถอนประกาศและคำสั่งต่างๆ ที่กระทบไม่เฉพาะกับสื่อแต่ยังรวมถึงประชาชนด้วย ซึ่งก็มีอยู่จำนวนมากเสียตั้งแต่ช่วงนี้   ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดความยุ่งยากกับรัฐบาลชุดต่อไปที่ต้องใช้กลไกรัฐสภายกเลิกและต้องใช้เวลาอย่างมาก   เราต้องเปลี่ยนคำว่า คำสั่ง คสช.ให้หมด คำสั่งที่ดีก็ให้ทำเป็นอย่างอื่น เช่นเป็นพระราชบัญญัติ คำว่าคำสั่งคณะปฏิวัติมันเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของบางอย่าง นั่นเป็นปัญหาปัจจุบัน แต่ผมฝากปัญหาอีกอันหนึ่งเป็นปัญหาอนาคต เราสู้กันมายกหนึ่ง ท่านอย่าลืมว่านี่  คือ  เสือตัวใหม่ที่กำลังคืบคลานเข้ามา นั่นคือ พ.ร.บ.คุ้มครองสื่อ  ผมอยู่ใน สปท.สู้เรื่องนี้มาหนัก ผมโหวตไม่เอา คุ้มครองไม่ใช่ควบคุม  เราสู้กันคราวนั้นถูกระงับยับยั้งไป หลังจากนี้เดี๋ยวก็มาอีก ฉะนั้นตอนนี้การกำกับดูแลกันเองเป็นเรื่องจำเป็น ไม่เช่นนั้นเดี๋ยวเสือตัวใหม่ก็มา”

นางลดาวัลล์ วงศ์ศรีวงศ์  พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกจำกัดเสรีภาพค่อนข้างมาก ดังนั้น คสช.ควรต้องคืนอำนาจให้ประชาชน ได้มีเสรีภาพในช่วงบรรยากาศของการเลือกตั้ง  ควรต้องทำให้เป็นประชาธิปไตย  เกือบ 5 ปี ที่เราอยู่ภายใต้คสช. ได้สร้างวัฒนธรรมให้ข้าราชการเป็นศูนย์กลาง   พร้อมกับสร้าง  วัฒนธรรมที่หลักนิติรัฐสำคัญน้อยกว่าอำนาจทหาร พรรคเพื่อไทย จึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งคสช. เพื่อให้สื่อเป็นอิสระ ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมให้การเลือกตั้งครั้งนี้บริสุทธิ์โปร่งใส และให้ชาวโลกรับรู้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือ

น.ส.พรรณิการ์   วานิช  พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า ประกาศและคำสั่งของ หัวหน้า คสช. เป็นเหมือนล็อกขั้นแรกที่กดทับเสรีภาพสื่อมวลชน ส่งผลให้เกิดล็อกขั้นที่ 2 ที่ให้อำนาจเถื่อนของรัฐเข้ามาครอบงำ  ส่วนล็อกที่ 3 คือ เปิดอำนาจให้ทหารใช้กฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการปิดปาก และล็อกข้อที่ 4 เป็นล็อกที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ในส่วนของมาตรา 279 ที่ระบุว่า  คำสั่งใดๆของ คสช. ถือว่าชอบด้วยธรรมนูญทั้งหมด   เป็นการคุ้มครองว่าสิ่งที่ คสช.ทำนั้นไม่ผิด ในเมื่ออีกไม่กี่เดือนเราจะเดินเข้าสู่การเลือกตั้ง โดยที่จะมีอำนาจเถื่อนครอบคลุมอยู่แบบนี้จริงหรือ   จึงอยากเรียกร้องไปยังคสช. ให้ยุติอำนาจการออกคำสั่งใหม่ และระงับอำนาจคำสั่งเดิม หลังมีพ.ร.ฎ.การเลือกตั้ง ออกมา  และขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ลาออกจากตำแหน่ง  ให้เหลือไว้เพียงรัฐบาลรักษาการ รวมถึงขอให้ทุกพรรคการเมืองออกมาแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังจากที่มีการเลือกตั้ง  โดยเฉพาะมาตรา 239 ต้องยกเลิกออกไป พร้อมตั้งคณะกรรมการแยกเเยะคำสั่งหรือประกาศ คสช. หากคำสั่งไหนมีผู้ได้รับผลประโยชน์โดยสุจริต จะต้องเปลี่ยนคำสั่งดังกล่าวเป็นกฎหมาย แต่หากคำสั่งไหนที่มีอำนาจเถื่อน ต้องมีการยกเลิกและเยียวยาผู้เสียหาย 

จากนั้น  นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกให้กับตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆที่เข้ามาร่วมเสวนาในครั้งนี้   ขอให้ร่วมรณรงค์ยกเลิกประกาศ และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ลิดรอนเสรีภาพสื่อมวลชนและประชาชน

matemnews.com 

23 ธันวาคม 2561