Home ข่าวทั่วไปรอบวัน สังคมกลัวความเหลื่อมล้ำ หลังกรุงเทพคริสเตียน ให้ นร. แต่งชุดไปรเวทมาเรียนทุกวันอังคาร

สังคมกลัวความเหลื่อมล้ำ หลังกรุงเทพคริสเตียน ให้ นร. แต่งชุดไปรเวทมาเรียนทุกวันอังคาร

1106
0
SHARE

จากประเด็นดัง เรื่องของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนที่อนุญาตให้นักเรียนสามารถแต่ง ‘ชุดไปรเวท’ มาโรงเรียนได้สัปดาห์ละ 1 วัน เป็นเวลา 1 เทอมในทุกๆ วันอังคาร

โดยจุดประสงค์ของนโยบายนี้คือ ด้านความสุขสูงสุดของนักเรียน ด้านความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และอีกด้านคือการทดลองทำวิจัยเรื่อง ‘การแต่งเครื่องแบบนักเรียน’ ซึ่งถ้าหากเรื่องนี้เกิดปัญหาขึ้น ทางโรงเรียนก็ยินดีที่จะยกเลิก

โดยเรื่องนี้ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือดในโลกออนไลน์ว่า เหมาะสมหรือไม่กับสังคมไทยเพราะโดยปกติแล้วเด็กนักเรียนก็จะเครื่องแบบนักเรียนที่กำหนดโดยโรงเรียนอยู่แล้ว การแต่งชุดไปรเวทอาจทำให้เกิด ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ได้

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของประเด็นนี้คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ขอให้โรงเรียนทบทวนเรื่องดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด

ด้านนายนายศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้เปิดเผยว่าถึงเรื่องนี้ว่า ตนมีความหนักใจกับประเด็นนี้เช่นเดียวกัน เพราะมองว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์

อย่างเช่นถ้าหากมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำกันขึ้น จะได้นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาสอนให้เด็กๆ ได้รู้ถึงเรื่องนี้ แต่เมื่อมีข้อกังขาเช่นนี้ ก็ต้องขอหารือกับทางนักเรียนก่อนว่าจะมีทิศทางต่อไปในเรื่องนี้อย่างไร

อนึ่งนายศุภกิจ ระบุว่า หากดูตามข้อกฎหมายในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551  โรงเรียนมีอำนาจการดำเนินการ และกิจกรรมนี้ไม่ถือว่าขัดต่อระเบียบแต่อย่างใด

อีกมุมมองหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ เมื่อเฟซบุ๊กชื่อว่า Neung Wichai ได้ออกมาเผยถึงผลงานวิจัยหลังจากที่เด็กๆ ใส่ชุดไปรเวทไปเรียนเป็นเวลา 1 วัน ซึ่งมีใจความว่า 

‘#1วันที่ผ่านไป  #งานวิจัย  #กับชุดไปรเวท

อังคารที่ผ่านมากระแสของการใส่ชุดไปรเวทของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ได้ทำให้ทุกสื่อและวงการศึกษาได้ทบทวน พูดคุย และแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องขุดนักเรียนในวงกว้าง อดไม่ได้ที่จะพูดคุยเรื่องนี้ในทัศนคติส่วนตัวต่อมุมมองที่หลากหลาย …

#การวิจัย

ในรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Wisconsin สหรัฐอเมริกา (Underwood, J., 2018) พบว่าการแต่งกายของนักเรียน เป็นการแสดงออกตัวตนของพวกเขาได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ทัศนคติ ความเชื่อส่วนบุคคล จนถึงจุดยืนในสังคมและการเมือง

แต่ก็พบปัญหาเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัย การโจรกรรมการแบ่งแยกพรรคพวก กลุ่มอิทธิพลในโรงเรียน แต่สิ่งเหล่านี้ ควบคุมได้ด้วยโนบายและความรัดกุมของสถานศึกษา และความร่วมมือของนักเรียน และผู้ปกครอง

#การเปิดกว้าง

เปิดกว้างคือการรับฟังเสียงของนักเรียน มันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรในต่างประเทศ มีงานวิจัยผลสำรวจนักเรียนในออสเตเลียต้องการให้เปลี่ยนจากชุดฟอร์มพละอันเก่าแก่ เป็นชุดกีฬาจริง ๆ ทั้งแต่หัวจรดเท้า

ที่ทำให้เขาวิ่งเริงร่าในทุ่งสะวันนาได้อย่างคล่องตัว (McCarthy, N., Nathan, N. Hodder, et al., 2018)

#การสังเกต

ผมพบว่าอังคารที่ผ่านมา นักเรียนใส่ชุดเครื่องแบบที่หลากหลาย แน่นอนว่ามีทั้งชุดนักเรียน ชุดเสื้อยืดกางเกงขาสั้น เสื้อสูท เสื้อผ้าราคาถูก ๆ ไปจนถึงรองเท้าแบรนด์เนมเฉียดห้าหมื่น แต่แอบสังเกตว่าไม่มีเด็กสนใจ หรือคุยกันเรื่องพวกนี้มากนัก

#การทำความเข้าใจ

เพราะบริบทพวกเขาใส่แบบนี้เป็นประจำมาเจอกันอยู่แล้ว ในวันเสาร์อาทิตย์ วันหยุด ที่เรียนพิเศษ สยาม หรือที่โบสถ์ ไม่มีใครเพิ่งไปซื้อรองเท้า Balenciaga เพื่อมาใส่ในวันอังคารที่ผ่านมาโดยเฉพาะ

นักเรียนที่นี่เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ประถมยันมัธยมปลายเป็นสิบปี พวกเขารู้จักกันดีจนมองข้ามความต่างทางฐานะและสังคม ไม่มีใครคุยว่าอุ้ย รวยจัง ยากจนเนอะ ที่นี่มีแต่ชื่นชม และแบ่งปันกันและกัน

“เพื่อนกัน” คือ “ความเท่ากัน” นั่นแหละที่ทำให้ทุกคนเสมอภาค และยอมรับความแตกต่างได้แม้สวมใส่ในเสื้อผ้าที่หลากหลายต่างกัน

 

#ครู

อย่างผมทดลองเปลี่ยนรองเท้าสามคู่สามเวลาในวันนั้น … มีนักเรียนที่รู้จักทักทายแซวกันบ้างตามปกติ แต่แปลก…ที่มันก็ไม่ได้ทำให้ผมรักโรงเรียนนี้น้อยลงไปกว่าเดิมเลย #แปลกจัง #วิจัยกันต่อไม่รอละนะ #แชร์ด้วยถ้าช่วยได้

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก catdumb