SHARE

4 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา การประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ณ มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง มีการแถลงผลงานของสภาประชาชนแห่งชาติจีนตลอดปี 2018 ที่ผ่านมา หนึ่งในผลงานที่สำเร็จและภาคภูมิใจคือ ในปี 2018 มีอีก 67 ประเทศได้ลงนามในเอกสารความร่วมมือกับจีนผ่านนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI – Belt and Road Initiative)

งานเปิดตัวหนังสือ ‘คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ และ ‘สัมมนาคลังสมองระดับสูงจีน-ไทย’ ในหัวข้อ ‘จีน-ไทยร่วมมือผลักดันสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของเอเชีย’ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 น. ห้องบอลรูม 3 โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ นับเป็นการประกาศความสำเร็จของจีน ที่มีทั้งหมด 152 ประเทศ (รวมประเทศไทย) และองค์กรระหว่างประเทศทั่วโลกอีกมากมาย เข้าร่วมนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ความคิดริเริ่มนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเป็นของนายสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ที่เปิดตัวเมื่อปีค.ศ. 2013 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อเส้นทาง 70 ประเทศ ให้ประชากร 2 ใน 3 ของโลกได้ไปมาหาสู่กัน ผ่านเครือข่ายสะพานและอุโมงค์เชื่อมต่อพรมแดน (เรียกว่า ‘แถบ’) และเครือข่ายท่าเรือ เพื่อรองรับเส้นทางเดินเรือใหม่ในทะเล (เรียกว่า ‘เส้นทาง’) อันนำมาสู่ชื่อ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ เข้าใจจีน เข้าใจโลก

หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางคือการเชื่อมโยงโลก คนทั่วโลกกำลังหันมาสนใจนโยบายนี้ เพราะเป็นนโยบายที่จะทาให้จีนก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำที่ส่งเสริมการค้าโลกด้วยความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ในภาวะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ หันไปยึดนโยบาย ‘อเมริกาต้องมาก่อน’

การจะเข้าใจ ‘นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ของจีน เปรียบเหมือนสุภาษิตที่ว่า ‘การเล่านิทานต้องการคำสำคัญฉันใด การเล่าเรื่องราวความเป็นมาของประเทศจีนก็ต้องการความสำคัญฉันนั้น’ หนังสือ ‘คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน’ จะทำให้เข้าใจประเทศจีน เข้าใจนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และเข้าใจเจตจำนงของจีนในการดาเนินนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อเชื่อมโยงกับทั่วโลก

การผลิตหนังสือ ‘คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ เป็นโครงการสำคัญระดับประเทศ หนังสือมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์ของนายสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบคำสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดที่ทาให้เกิดการริเริ่มนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้อย่างถ่องแท้

หนังสือคำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แปลเป็นภาษาต่างประเทศแล้ว 14 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาเยอรมัน ภาษาโปรตุเกส ภาษาอิตาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาเวียดนาม ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาตุรกี ภาษาคาซัคสถาน และล่าสุดภาษาที่ 15 ‘ภาษาไทย’

ในงานเปิดตัวหนังสือฯวันนี้ ยังมีการสัมมนาคลังสมองระดับสูงจีน-ไทย ในหัวข้อ ‘จีน-ไทยร่วมมือผลักดันสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของเอเชีย’ ภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่มีผู้บรรยายระดับคลังสมองทั้งจากจีนและไทย มาให้ความรู้ แลกเปลี่ยนทัศนะ เพื่อความเข้าใจในนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้อย่างถ่องแท้ขึ้นไปอีกระดับ

พิธีเปิดตัวหนังสือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และสัมมนาคลังสมองระดับสูงจีน-ไทย จัดขึ้น ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ประเทศไทย จัดโดย…กรมกิจการจัดพิมพ์และจาหน่ายหนังสือภาษาต่างประเทศแห่งประเทศจีน (CIPG – China International Publishing Group) / สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย / สถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย / นิตยสาร CHINA REPORT / สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ / และสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน

งานนี้ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญทั้งจากไทยและจีน ได้แก่ ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม / นายหยาง ซิน อัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย / พลโท สรรเสริญ แก้วกาเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ / นายเฉิน เต๋อไห่ เลขาธิการศูนย์จีน-อาเซียน / มาดามเฉิน ฉือ รองหัวหน้ากองบรรณาธิการและผู้อานวยการนิตยสาร CHINA REPORT / และนายหยาง ผิง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย เลขาธิการสถาบันวิจัยการแปลแห่งประเทศจีน ฯลฯ

มาดามเฉิน ฉือ รองหัวหน้ากองบรรณาธิการและผู้อานวยการนิตยสาร CHINA REPORT กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นองค์กรเผยแพร่ข่าวสารในระดับสากล นิตยสาร CHINA REPORT ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรและประสบการณ์ในระดับโลกทั้งในด้านสื่อและคลังสมอง ปีนี้เป็นปีการแลกเปลี่ยนระหว่างสื่อจีน-อาเซียนอีกด้วย งานในวันนี้จะสามารถช่วยผลักดันการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนให้แน่นแฟ้นขึ้น”

พิธีเปิดตัวหนังสือวันนี้ นายหยาง ผิง รองผู้อานวยการสถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย เลขาธิการสถาบันวิจัยการแปลแห่งประเทศจีน เป็นตัวแทนของหน่วยงานเจ้าของโครงการหนังสือฯ และ ดร.ธารากร วุฒิสถิรกู รองผู้อานวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน เป็นตัวแทนของหน่วยงานร่วมมือจัดแปลและจัดพิมพ์หนังสือฯ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษและแนะนาหนังสือ “คาสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ฉบับภาษาไทย

นายหยาง ผิง กล่าวว่า “โครงการหนังสือคาสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ตีพิมพ์หลากหลายภาษา และล่าสุดภาษาไทย เป็นโครงการสำคัญระดับประเทศที่ได้รับความร่วมมือจากกรมกิจการจัดพิมพ์และจาหน่ายหนังสือภาษาต่างประเทศแห่งประเทศจีน (CIPG) / สถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย / และสถาบันวิจัยการแปลแห่งประเทศจีน เพื่อแนะนาและอธิบายคำสำคัญในด้านต่าง ๆ เช่น ปรัชญาการพัฒนา เส้นทางการพัฒนา นโยบายภายในประเทศจีนและในต่างประเทศ ความคิดและวัฒนธรรมของประเทศจีนร่วมสมัยต่อสากล และความคิดด้านการเมือง เป็นต้น ซึ่งอธิบายถึงการดำเนินงานอย่างแข็งขันภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน”

CIPG เคยแปลและจัดพิมพ์หนังสือ “สี จิ้นผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ” เล่มที่ 1 และเล่มที่ 2 มาแล้ว และแปลเป็นหลายภาษา หนังสือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งผลงาน ที่แปลเป็นหลายภาษาเช่นกันภายใต้แพลทฟอร์มการเผยแพร่คำสำคัญเพื่อความเข้าใจประเทศจีนให้ดียิ่งขึ้น เป็นช่องทางให้ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เข้าใจการริเริ่มนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ของจีนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการดำเนินกิจการการแลกเปลี่ยนบุคลากรและวัฒนธรรม

โครงการตีพิมพ์หนังสือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีนฯ” นั้น ได้ตีพิมพ์หนังสือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน (เล่มที่ 1) ” “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับประชุมผู้แทนประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 19” แปลเป็นภาษาต่างๆแล้ว 15 ภาษา อาทิ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย ภาษาสเปน ภาษาอาหรับ ภาษาเยอรมัน ภาษาโปรตุเกส ภาษาอิตาลี ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาเวียดนาม ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาตุรกี ภาษาคาซัคสถาน และล่าสุดภาษาไทย นอกจากนี้ ยังวางแผนตีพิมพ์หนังสือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับการบริหารประเทศ” “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับการปฏิรูปและเปิดประเทศ” “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับกิจการต่างประเทศสมัยใหม่” ในอนาคตอีกด้วย

สำหรับหนังสือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ฉบับภาษาไทยเล่มนี้ จัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเตรียมจาหน่ายในร้านหนังสือ 353 แห่งทั่วประเทศไทย ภายใต้ร้านหนังสือของบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จากัด (ซีเอ็ด)

ระหว่างพิธีเปิดตัวหนังสือฯ ผู้แทนจากนิตยสาร CHINA REPORT กลุ่มบริษัทภาคเอกชนไทย และสมาคมมิตรภาพไทย-จีน ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสื่อ ส่วนผู้แทนจากสถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัยและศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีนได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านคลังสมอง

นอกจากงานอันน่ายินดีวันนี้แล้ว นิตยสาร CHINA REPORT และ CHINA REPORT ASEAN จะร่วมกับองค์กรอีกหลายแห่งเตรียมจัดงานฟอรั่มความร่วมมือระหว่างสื่อจีน-อาเซียน ประจำปี 2019 และงานแลกเปลี่ยนในด้านอื่นๆอีกหลายงาน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของประชาชนกว่า 2,000 ล้านคนใน 10 ประเทศอาเซียนและจีนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

งานสัมมนาฯจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “จีน-ไทยร่วมมือผลักดันสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันของเอเชีย” มีผู้แทนจากวงการสื่อและผู้เชี่ยวชาญของไทยและจีนราว 150 คนเข้าร่วมงาน ซึ่งผู้แทนจากไทยและจีนได้ให้คาชื่นชมอย่างสูงกับการจัดงานสัมมนาฯและความสาเร็จที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนระหว่างคลังสมอง

รศ.ดร.อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี รองคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ / อาจารย์กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ / ดร.หวัง หลิงกุ้ย นักวิจัย รองประธาน คณะกรรมการบริหาร และเลขาธิการคลังสมองยุทธศาสตร์โลกแห่งชาติ สภาวิทยาศาสตร์สังคมจีน / ดร.ซ่ง จื้อหยง นักวิจัยและผู้อานวยการสถาบันเอเชีย-แอฟริกาศึกษา สถาบันเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จีน / และผู้เชี่ยวชาญจากไทยและจีนทั้งหมด 11 ท่าน ร่วมแลกเปลี่ยนเจรจาลงลึกในรายละเอียดในหัวข้อ “ความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกัน: จีน-ไทยร่วมใจพัฒนาหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” “ศึกษาและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน: บทบาทของคลังสมองในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับอาเซียน” และหัวข้ออื่นๆ จนกำเนิดความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อจีนและอาเซียน

พลเอก สุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อานวยการ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในนามของฝ่ายไทย กล่าวว่า “งานสัมมนาคลังสมองระดับสูงจีน-ไทยเป็นมาตรการสำคัญมาตรการหนึ่งที่กรมกิจการจัดพิมพ์และจาหน่ายหนังสือภาษาต่างประเทศแห่งประเทศจีน (CIPG) จัดตั้งแพลทฟอร์มการแลกเปลี่ยนคลังสมองระดับสูงระหว่างประเทศจีนกับต่างประเทศ เนื่องในโอกาสปีแห่งการแลกเปลี่ยนด้านสื่อระหว่างจีน-อาเซียน.

ซึ่ง CIPG พยายามส่งเสริมเสมอมาใน (1) การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยประเทศจีนและโลกร่วมสมัย และคลังสมองระดับสูงนานาชาติ เพื่อบรรลุเป้าหมายการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างคลังสมองและบุคลากรจากความร่วมมือระหว่างประเทศ (2) ส่งเสริมนวัตกรรมความร่วมมือระหว่างคลังสมองนานาชาติ (3) ปฏิรูปและสร้างระบบการบริหารระดับสากล ตลอดจน (4) ขยายวงการการแลกเปลี่ยนระหว่างคลังสมองจีนกับสากล เพื่อเสนอแผนงานนวัตกรรมด้านการบริหารการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนและนานาประเทศ”