วันที่ 3 พ.ค. 62 พยากรณ์อากาศของอินเดีย แจ้งว่า พายุไซโคลน “ฟานิ” (Fani) ได้ก่อตัวขึ้นในบริเวณอ่าวเบงกอล ด้วยกำลังแรงลม 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า จะพัดเข้าถล่มเขตชายฝั่งทางตะวันออก ใกล้รัฐโอริสสาของประเทศอินเดีย ในช่วงบ่ายวันที่ 3 พ.ค. จุดเสี่ยงที่คาดว่า พายุไซโคลนฟานิจะไปเยือนมีอยู่ 13 เขต ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่รวมกว่า 780,000 คน
คาดการณ์กันว่า “ไซโคลนฟานิ” จะขึ้นฝั่งด้วยความแรงเทียบเท่าเฮอริเคน ที่มีความเร็วลมกว่า 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่สูงหลายเมตรซัดฝั่ง โดยล่าสุดในช่วงเช้าก่อนพายุไซโคลนจะขึ้นฝั่งเริ่มมีฝนตกทางตะวันตกของอ่าวเบงกอล
Cyclone Fani To Hit West Bengal, Rain Likely In Several Parts: Met Department pic.twitter.com/2oWVyKasPj
— Abir (@i_am_abirg) May 3, 2019
ทางการอินเดีย สั่งสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งปิดท่าเรือใหญ่ 2 แห่งในพื้นที่ชายฝั่งแล้ว พร้อมแจ้งเตือนประชาชนเตรียมรับมือพายุ โดยมีการจัดตั้งศูนย์พักพิง 1,000 แห่ง ตามโรงเรียนและสถานที่ราชการเพื่อรองรับผู้ประสบภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลว่า พายุไซโคลนลูกนี้ อาจจะทำลายโบราณสถานและมรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะเมืองปูริ ที่ตั้งของวัดฮินดู อายุเก่าแก่กว่า 858 ปี
นอกจากนี้ รัฐอานธรประเทศ และ รัฐทมิฬนาฑู ยังได้ประกาศเตือนภัยระดับสูง ย้ำให้ประชาชนเตรียมรับมือความรุนแรงของพายุและลมกระโชกแรง ทั้งนี้ “ไซโคลนฟานิ” ถือเป็นพายุลูกใหญ่สุด ที่พัดเข้าพื้นที่ทางตะวันออกของอินเดีย ในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ
ภาพบรรยากาศภายในศูนย์พักพิงชั่วคราว
Cyclone #Fani rehabilitation centre at Odisha. pic.twitter.com/j9uNh1bGK5
— Ashok Dash (@dashashok) May 2, 2019