Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ระเบิดไฮโดรเจนของ “คิม จอง อึน” ดินไหวถึงไทย

ระเบิดไฮโดรเจนของ “คิม จอง อึน” ดินไหวถึงไทย

841
0
SHARE
TOPSHOT - This undated picture released by North Korea's official Korean Central News Agency (KCNA) on September 3, 2017 shows North Korean leader Kim Jong-Un (C) looking at a metal casing with two bulges at an undisclosed location. North Korea has developed a hydrogen bomb which can be loaded into the country's new intercontinental ballistic missile, the official Korean Central News Agency claimed on September 3. Questions remain over whether nuclear-armed Pyongyang has successfully miniaturised its weapons, and whether it has a working H-bomb, but KCNA said that leader Kim Jong-Un had inspected such a device at the Nuclear Weapons Institute. / AFP PHOTO / KCNA VIA KNS / STR / South Korea OUT / REPUBLIC OF KOREA OUT ---EDITORS NOTE--- RESTRICTED TO EDITORIAL USE - MANDATORY CREDIT "AFP PHOTO/KCNA VIA KNS" - NO MARKETING NO ADVERTISING CAMPAIGNS - DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS THIS PICTURE WAS MADE AVAILABLE BY A THIRD PARTY. AFP CAN NOT INDEPENDENTLY VERIFY THE AUTHENTICITY, LOCATION, DATE AND CONTENT OF THIS IMAGE. THIS PHOTO IS DISTRIBUTED EXACTLY AS RECEIVED BY AFP. /

 

ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ  แถลงแก่ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 4 ก.ย.2560   ว่า  ตรวจสอบพบแรงสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 3 กันยายน  2560  จากสถานีเฝ้าตรวจความสั่นสะเทือนของพิภพ พีเอส 41 (Primary Seismic Station, PS41) จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

 

และในเวลาต่อมา (เวลา 12.00 น. ของกรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย) องค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty Organization: CTBTO) ได้จัดการบรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวผิดปกติที่เกาหลีเหนือ ภายหลังจากที่เกาหลีเหนือได้ประกาศการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในวันดังกล่าว

 

โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้  สถานีเฝ้าตรวจความสั่นสะเทือนของพิภพ ของ CTBTO สามารถตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนที่เกาหลีเหนือ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 60 เวลา 3.30 น. UTC (10.30 น. เวลาประเทศไทย หรือ 12.00 น. เวลากรุงเปียงยาง) โดยมีขนาด 5.9 แมกนิจูด (หลายสื่อรายงานขนาดความรุนแรง 6.3แมกนิจูด เนื่องจากใช้การคำนวณที่ต่างกัน) ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าการทดลองครั้งล่าสุดของ เกาหลีเหนือ เมื่อ ก.ย. 59 มาก (ขนาด 5.1แมกนิจูด)   CTBTO ยังตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนในบริเวณเดียวกันใน เกาหลีเหนือ ภายหลังจากเหตุแรงสั่นสะเทือนครั้งแรกประมาณ 8 นาที โดยแรงสั่นสะเทือนครั้งที่สองมีขนาดความรุนแรงประมาณ 3.9แมกนิจูด

 

CTBTO จะรายงานข้อมูลและการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพิ่มเติมให้ประเทศสมาชิกทราบต่อไป รวมถึงผลการตรวจวัดของสถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสีของ CTBTO ซึ่งจะแจ้งผลช้ากว่าสถานีเฝ้าตรวจความสั่นสะเทือนของพิภพ โดยทิศทางของรังสีที่จะปล่อยออกมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เกาหลีเหนือ

 

อาณัติของ CTBTO คือ การแจ้งข้อมูลการตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนและการปล่อยรังสี แต่จะไม่ตัดสินรูปแบบและธรรมชาติของการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นดุลยพินิจของแต่ละประเทศ (CTBTO ไม่มีอาณัติที่จะตัดสินว่าเป็นการทดลอง hydrogen bomb ตามที่ เกาหลีเหนือ อ้าง)

 

ประเทศต่างๆ ชื่นชมประสิทธิภาพของระบบตรวจวัดของ CTBTO พร้อมประณามเกาหลีเหนือ เรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามข้อมติ UNSC ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และบางประเทศขอให้ UNSC ตอบสนองต่อเหตุการณ์ล่าสุดอย่างเร่งด่วน

 

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2560  เกาหลีเหนือออกมาประกาศว่าประสบความสำเร็จในการทดสอบอาวุธที่ล้ำสมัย   อ้างว่าเป็นระเบิดไฮโดรเจน   ที่สามารถย่อขนาดเพื่อติดตั้งบนขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงมีความรุนแรงกว่าอาวุธอื่นๆ และสามารถโจมตีถึงแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐได้ โดยการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 6 และภายหลังคำประกาศของเกาหลีเหนือทั่วโลกต่างแสดงท่าทีคัดค้านและร่วมประณามการกระทำของเกาหลีเหนือ พร้อมเรียกร้องให้สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงโทษต่อการกระทำดังกล่าวของเกาหลีเหนือ

 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว  นายยูกิยะ อามาโนะ ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ได้ออกแถลงการณ์ต่อเกาหลีเหนือว่า การกระทำของเกาหลีเหนือในวันนี้ (3 ก.ย. 60) ถือเป็นเรื่องที่มีความรุนแรงและน่ากังวลมาก พร้อมเรียกร้องให้เกาหลีเหนือปฏิบัติเพื่อบรรลุตามแนวทางแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ตามมติสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและIAEA ทั้งนี้ IAEA จะยังคงติดตามโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะยื่นมือเข้าช่วยแก้ปัญหานี้อย่างสันติ

 

ขณะเดียวกันเลขาธิการบริหารของ CTBTO กล่าวว่า แรงสั่นสะเทือนที่วัดได้ที่เกาหลีเหนือในครั้งนี้ถือว่ามีความรุนแรงกว่าการทดสอบครั้งก่อนหน้านี้ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และเลขาธิการ CTBTO กล่าวอีกว่า หากยืนยันได้ว่านี่คือการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ก็ถือว่าเกาหลีเหนือมีการพัฒนาอาวุธได้รวดเร็วและล้ำหน้ามาก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นสัญญาณเรียกครั้งสุดท้ายให้นานาชาติออกกฎหมายโดยให้มีการบังคับใช้ตามหลักการของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์

 

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือครั้งล่าสุดนี้ เป็นการทดลองระเบิดไฮโดรเจนจริงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ หรือเป็นเพียงการทดลองระเบิดนิวเคลียร์แบบอื่น ซึ่งการที่จะระบุให้แน่ชัด จะต้องทำการตรวจวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสี  ที่ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายหลังจากการระเบิด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องยากเนื่องจากเป็นการทดลองที่อยู่ใต้ดินนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะถูกกักอยู่ภายใต้พื้นดินหรือโครงสร้างใต้ดินที่สามารถป้องกันการรั่วไหลของนิวไคลด์กัมมันตรังสีทั้งนี้ ปส. จะรายงานความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง และขอให้ประชาชนติดตามความเคลื่อนไหวดังกล่าวต่อไป

 

ดร.อัจฉรา กล่าวในตอนท้ายว่า  ประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty หรือ CTBT) กับ CTBTO และกับรัฐภาคีอื่น โดยมีความตกลงร่วมกันว่าจะไม่ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ หรือระเบิดนิวเคลียร์อื่นใด และให้ความร่วมมือในการจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าตรวจการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญา CTBT โดยการจัดตั้งสถานีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

 

1.สถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี อาร์เอ็น 65 (Radionuclide Station; RN65) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยจะทำการเก็บ เตรียม และวัดนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ปล่อยรังสีแกมมาในตัวอย่างอนุภาคในอากาศ พร้อมกับส่งผลการวัดไปยัง CTBTO ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นประจำทุกวันเพื่อทำการวิเคราะห์ผลการวัด และจะติดตั้งระบบวิเคราะห์ก๊าซเฉื่อยกัมมันตรังสี (Noble Gas  System) ที่สถานีฯ ในต้นปี 2561

 

2.สถานีตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพิภพ พีเอส 41 (Primary Seismic Station; PS41)  ณ สถานีวัดความสั่นสะเทือน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยสถานีฯ จะทำการตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพิภพ และส่งผลการตรวจวัดไปยัง CTBTO ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

 

3.ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ เอ็น 171 (National Data Center; NDC N171) ณ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ทำหน้าที่ในการรับ ส่ง และรวบรวมข้อมูลการเฝ้าตรวจจากทั้งสถานีของประเทศไทยและจากสถานีอื่นๆ ภายใต้ระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ (International Monitoring System, IMS) ของ CTBTO

 

การจัดตั้งสถานีเฝ้าตรวจฯRN65สถานีเฝ้าตรวจฯ PS41 และศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ N171 นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญา CTBT แล้ว ประเทศไทยยังจะได้ประโยชน์จากการนำข้อมูลจากเครือข่ายระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ (International Monitoring System, IMS) ไปใช้ในการเตือนภัยสึนามิ การศึกษาการเคลื่อนที่ของสัตว์ทะเล และ การเคลื่อนที่ของนิวไคลด์กัมมันตรังสีในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น และ ปส. พร้อมร่วมมือและประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนไทย รวมถึงเพื่อรักษาความสงบและความปลอดภัยของประชาคมโลกต่อไป

 

Matemnews.com  4 กันยายน 2560