Home มาเต็มกัญชา ยาน้ำมันกัญชาสูตรอาจารย์เดชา – ยากแสนสาหัสนัก

ยาน้ำมันกัญชาสูตรอาจารย์เดชา – ยากแสนสาหัสนัก

1122
0
SHARE

 

เฟชบุ้ค BIOTHAI

ตำรับยาน้ำมันเดชา จะได้รับการรับรองหรือไม่ เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรื่องวิธีการสกัดน้ำมันกัญชาโดยใช้สารสกัดชนิดต่างๆ เพราะหนึ่งในคำถามของผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณารับรองตำรับยากัญชาของหมอพื้นบ้าน กรมการแพทย์แผนไทยฯ คือคำถามว่า “การสกัดน้ำมันกัญชาสูตรอาจารย์เดชาจะได้สารอะไร มากน้อยเพียงใดสำหรับการรักษาโรค ?”

 

แม้จะกังขากับตรรกคำถามดังกล่าวของกรมฯ เนื่องจากกระบวนการปรุงยาของหมอพื้นบ้านไม่ได้เน้นที่ความเข้มข้นของสารใดสารหนึ่งดังเช่นการผลิตยาแผนปัจจุบัน แต่เน้นการรักษาแบบองค์รวม และให้ความสำคัญกับผลของการรักษาเป็นสำคัญ

 

แต่เพื่อตอบคำถาม เพื่อสนับสนุนให้น้ำมันเดชาได้รับการรับรอง ไบโอไทยพบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

 

1) การสกัดน้ำมันกัญชาโดยใช้ naptha ซึ่งเป็นวิธีการที่อาจารย์เดชาใช้สกัดและผลิตเป็นน้ำมันเดชานั้น ให้สารกลุ่มแคนาบินอยด์ โดยเฉพาะ THC สูงสุด แต่ในสารกลุ่ม terpenes ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสกัดอื่น เช่น ใช้ปิโตรเลียมอีเธอร์ เอทานอล และน้ำมันมะกอก

 

อย่างไรก็ตามวิธีการสกัดโดยใช้ naptha นั้น กรมการแพทย์แผนไทยฯเห็นว่าเป็นวิธีการสกัดสมัยใหม่ แนวโน้มการรับรองตำรับยาที่ใช้กระบวนการสกัดนี้อาจเป็นไปได้ยาก

 

การผลิตยาโดยกระบวนการสกัดนี้จึงต้องรอผ่านโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ผ่านกระบวนการพิจารณา

 

2) ข้อมูลที่น่าสนใจจากงานวิจัยของ Luigi L Romano, Arno Hazekamp จากภาควิชาเภสัชศาสตร์ University of Siena อิตาลี และ สถาบันชีววิทยา, Leiden University เนเธอร์แลนด์ พบว่าการสกัดโดยใช้น้ำมันมะกอก แม้ให้ THC น้อยกว่า naptha แต่ก็มากกว่าวิธีการสกัดอื่น เช่น เอทานอล เป็นต้น แต่ที่สำคัญคือให้สารกลุ่ม terpenes สูงสุด

 

3) เพื่อให้ผู้ป่วยที่รอน้ำมันเดชาได้รับยาเร็วขึ้น อาจารย์เดชาจึงได้เสนอตำรับน้ำมันเดชาซึ่งสกัดด้วยน้ำมันมะพร้าว(สกัดเย็น)ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่อาจารย์เดชาใช้ เพื่อเสนอให้กรมการแพทย์แผนไทยฯรับรอง

 

แม้จะไม่มีงานวิจัยเรื่องการใช้น้ำมันมะพร้าวในงานวิจัยของ Romano & Hazekamp แต่หากเปรียบเทียบกับการใช้น้ำมันมะกอกแล้ว ในแวดวงการผลิตยาจากกัญชาเห็นว่าน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติดีกว่าน้ำมันมะกอกมาก และอาจดีที่สุดในการสกัดน้ำมันจากกัญชา เพราะประการแรก น้ำมันมะพร้าวมีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งสามารถสกัดสารกลุ่มแคนาบินอยด์ได้ดีกว่ามาก หากเทียบกับน้ำมันมะกอก (น้ำมันมะกอกมีไขมันอิ่นตัวประมาณ 20% แต่น้ำมันมะพร้าวมี 80%) และประการที่สอง น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญ ยังมีคุณสมบัติอื่นๆที่ดีต่อร่างกายด้วย

 

วันที่ 10 มิถุนายน 2562 นี้ ไบโอไทย มูลนิธิสุขภาพไทย และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเชิญให้ไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่กรมการแพทย์แผนไทย

 

วันที่ 12 มิถุนายนนี้ จะมีการประชุมของคณะกรรมการเพื่อพิจารณารับรองตำรับน้ำมันเดชา เราจะทราบว่าตำรับน้ำมันกัญชา สูตรสกัดแบบพื้นบ้านจะสามารถผลิตแจกจ่ายแก่ประชาชนได้หรือไม่ ?

 

ที่มาของกราฟในแผนภาพ :

Cannabis Oil: chemical evaluation of an upcoming cannabis-based medicine , Cannabinoids 2013;1(1):1-11

© International Association for Cannabinoid Medicines ; Luigi L Romano, Arno Hazekamp

Department of Pharmacy, University of Siena, Italy

Plant Metabolomics group, Institute of Biology, Leiden University, The Netherlands

……………………………………………….

 

BIOTHAI

ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2562 และประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หมอยาพื้นบ้านคนหนึ่งที่แจกจ่ายยาจากกัญชาเพื่อรักษาโรคเช่น มะเร็ง ลมชัก พาร์กินสัน ไมเกรน อาการปวดต่างๆ ต้อหิน กระจกตาเสื่อม และอื่นๆ ต้องผ่านเกณฑ์ต่างๆ 4-5 ขั้นตอนใหญ่ๆ(ไม่นับขั้นตอนย่อยต่างๆ) ตามแผนภาพ

 

กรณีอาจารย์เดชา ศิริภัทร เพิ่งได้รับการรับรองเป็นหมอพื้นบ้าน และผ่านการฝึกอบรมเพื่อเป็นหมอยาที่ใช้กัญชา เมื่อปลายเดือนเมษายน 2562 นั้น ยังเหลืออีกหลายขั้นตอน กว่าจะสามารถแจกจ่ายยาให้กับประชาชนจำนวนหลายหมื่นคนที่จำเป็นต้องใช้ยาและไม่สามารถเข้าถึงยาได้

 

นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมต้องปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆและแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2561 ให้สามารถนำกัญชามาใช้เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนได้จริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงจำกัดการปลูก การปรุงยา และแจกจ่ายแค่เพียงบางกลุ่มบางบริษัทเท่านั้น

 

 

matemnews.com 

29 พฤษภาคม 2562