สูตรทำยาทารักษาโรคสะเก็ดเงิน…..
เฟชบุ้ค ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
2 มิถุนายน เวลา 22:48 น. ·
การรักษาแบบปัจจุบันด้วยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งควบคุมโรคได้จำกัดและมีผลแทรกซ้อน
ดังนั้นผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นในเมืองไทยเองหรือในต่างประเทศ จำเป็นต้องหาทางเลือกเพื่อช่วยชีวิตตัวเอง ด้วที่มีรายงานมาเรื่อยๆว่าได้ผล
และนั่นคือที่มาของการใช้กัญชาไม่ว่าจะเป็นการทาอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับการหยดร่วมด้วย
ทำไมกัญชาใช้ได้ผลใน
โรคอื่นๆอีกเช่นโรคพุ่มพวง?
โรคพุ่มพวง SLE เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายวิปริต และไปทำลายร่างกายตนเองตั้งแต่หัวจดเท้า ผม ผิวหนังปอด หัวใจ ตับ ไต สมองเส้นเลือด
กัญชามีฤทธิ์ในการปรับภูมิคุ้มกันโดยไม่ใช่เป็นการกดหรือเพิ่มจะเป็นการปรับสมดุลให้เหมาะสม immunomodulator
ดังนั้นกรณีที่คุณหมอเสริฐที่จังหวัดอุทัยธานีเริ่มเห็นประโยชน์ของกัญชามาจากการที่ช่วยบุคลากรในโรงพยาบาลเองจากโรคนี้
ทำไมกัญชาใช้ประโยชน์ได้ในโรคทางสมองเสื่อมเช่นโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน?
ทั้งนี้เพราะว่าโรคที่เรียกว่าสมองเสื่อมในความเป็นจริง แล้วปัจจัยที่สำคัญที่เร่งให้เกิดโรค เป็นเรื่องของการอักเสบจากในร่างกายนอกสมอง และเป็นเรื่องของการอักเสบที่เกิดขึ้นจากเซลล์ในสมอง
ทั้งหมดนี้ทำร้ายระบบเส้นเลือดรวมทั้งทำร้ายระบบในการกำจัดขยะหรือของเสียในสมอง
นอกจากระบบการอักเสบที่กัญชาเข้าไปควบคุมสมดุลแล้วมีอะไรอีกอย่างอื่นหรือไม่?
ตัวรับกัญชาในร่างกายแทรกอยู่ในทุกระบบไม่ว่าจะเป็นในระบบประสาทหรืออวัยวะอื่นๆและอยู่ในเซลล์และอยู่ในอนุภาคในเซลล์ที่ควบคุมการปรับพลังงานของเซลล์ในทุกอวัยวะ
เพียงแต่ตัวรับกัญชาในร่างกายอย่างเดียวก็จะทำการปรับสมดุลของสารที่เชื่อมต่อสัญญาณ ระหว่างเซลล์หนึ่งของระบบหนึ่งไปยังอีกเซลล์ในระบบอื่น
และนอกจากนั้นสัญญาณที่ส่งมายังไปกระตุ้นการสร้างกัญชาตามธรรมชาติในร่างกายตามระบบซึ่งสร้างขึ้นมาและทำงานในช่วงระยะหนึ่งๆและหยุดไปเมื่อการทำงานนั้นเสร็จสิ้น
ดังนั้นกัญชาที่ใส่เข้ามาจากภายนอกจะใช้ในปริมาณน้อยนิดเพื่อปลุกการสร้างกัญชาในร่างกายให้ทำงานได้ ให้สอดประสานกันในทุกระบบของร่างกาย
จำเป็นหรือที่กัญชาจะสามารถใช้ได้ใน 4 โรคใน 39 โรค?
การใช้กัญชานั้นจะใช้ได้อย่างชาญฉลาดและได้ประโยชน์สูงสุด คือการทราบว่าโรคนั้นๆต้นเหตุนั้นๆ มีกลไกอย่างไรและกัญชาจะเข้าไปสอดแทรกในการปรับสมดุลได้อย่างไร
และที่สำคัญก็คือรู้ขนาดรู้วิธีการใช้รู้ว่าจะไปตีกับยาปัจจุบันที่ใช้อยู่แล้วหรือไม่
ดังนั้นการแพทย์ไทยที่จารึกไว้เป็นตำรับตำราหลาย 100 ปี จะถ่ายทอดให้ลูกให้หลานและมีประโยชน์สำหรับหลายภาวะ หลายโรคด้วยกัน
ในเรื่องของความปวดสามารถควบคุมการอักเสบที่เป็นต้นตอและปรับกระบวนการสื่อความปวดในทุกระดับจากใขสันหลังจนกระทั่งถึงระบบประสาทสมอง
ในเรื่องของโรคลมชักจะตรงไปตรงมาในเรื่องของการปรับสารสื่อประสาทในสมองโดยตรง
กัญชารักษาโรคมะเร็งได้หรือไม่?
รายงานจากทั่วโลกในผู้ป่วยมะเร็งที่หมดหวังรวมทั้งถึงผู้ป่วยในประเทศไทยกัญชาช่วยได้แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทิ้งการรักษาแผนปัจจุบันแต่ถ้าเป็นการควบรวมด้วยกันน่าจะเป็นการได้ประโยชน์สูงสุดและในกรณีที่หมดหวัง เป็นสิทธิ์ของคนไข้ที่จะเลือกกัญชาในการรักษาคุณภาพชีวิตตนเอง
มีรายงานทางวิทยาศาสตร์หรือไม่. แน่นอนการรายงานถึงกลไก แต่กระนั้น
ไม่มีใครสามารถเข้าใจถึงความแยบยลของกัญชาจากภายนอกที่กระตุ้นระบบกัญชาภายในและไปสั่งงานให้ร่างกายกำจัดเซลล์มะเร็ง
การศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตในสัตว์ทดลองสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถรักษามะเร็งปอดในสัตว์ทดลองได้
ต้องรอรายงานการรักษามะเร็งด้วยกัญชาอีกต่อไปนานแค่ไหน?
คนไทยคงไม่ทราบว่าบริษัทยายักษ์ใหญ่ของอังกฤษร่วมกับญี่ปุ่นยื่นคำร้องขอจดสิทธิบัตรกัญชาในการรักษามะเร็งเต้านมลำไส้ใหญ่และต่อมลูกหมากตั้งแต่ปี 2554 และถึงแม้จะถูกประกาศด้วยมาตรา 44 แต่มีกระบวนการยื่นคัดค้านได้ได้
ขณะที่คนไทยบางกลุ่มที่ทำการต่อต้านการใช้กัญชารักษามะเร็ง แต่บริษัทยาต่างชาติกำลังจะฮุบ กัญชาในการรักษามะเร็ง
และผลิตยากัญชาสำหรับรักษาอาการปวดและรักษาโรคลมชักที่ดื้อยาออกมาแล้วซึ่งราคายาคือ 30,000 ถึง 40,000 บาทต่อเดือนต่อคน
และคนไทยบางส่วนนอกจากต่อต้านกัญชาที่ทำจากสมุนไพรไทยยังอ้าแขนรับกัญชาจากบริษัทเหล่านี้ที่กำลังจะฮุบสิทธิบัตรกัญชาของไทย
คนไทยบางส่วนนี้ กำลังคิดอะไรอยู่?
ถ้ามัวแต่ถามว่าจะใช้ได้ในโรคอะไร ?
เพียงถามตัวเองว่าที่เจ็บป่วยขณะนี้ได้ประโยชน์เต็มที่หรือไม่จากการรักษาด้วยแผนปัจจุบัน
สามารถบรรเทาอาการเต็มที่ได้หรือไม่จากการรักษาด้วยแผนปัจจุบัน
และนี่คือที่มาของการใช้กัญชาทางการแพทย์
ไม่ต้องรู้วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
แต่รู้ว่าพ่อแม่ของตัวเองเจ็บป่วย ลูกตัวเองกำลังจะตาย ต้นเองกำลังจะเสียชีวิต
เท่านั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการใช้กัญชา
กรุณาอย่าถาม
กรุณาอย่าอ้างว่ายังไม่มีรายงานในวารสาร
ลองไปดูคนไทยที่เจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากกัญชา
….เท่านั้นก็พอ
Matemnews.com
4 มิถุนายน 2562