เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 4 มิถุนายน ที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทย
ระหว่าง นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ ว่าที่ ร.ต.สมบูรณ์ทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ รศ.โฆษิต ศรีภูธร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) และรศ.สิรี ชยสิริ รองคณบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตเฉลิมเกียรติ จ.สกลนคร เพื่อร่วมมือด้านการปลูกพืชกัญชาในการส่งผลิตเปินตำรับยาตามกฎหมาย
โดยมีแหล่งปลูกกระจาย 4 ภาค และส่งให้หน่วยผลิตที่กำหนด ดังนี้
1. ภาคเหนือ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
จ.ลำปาง จะปลูกและผลิตกัญชาสดส่งให้โรง
พยาบาล (รพ.) สมเด็จยุพราชเด่นชัย
2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานสภาเกษตรกร
แห่งชาติ จ.บุรีรัมย์ ปลูกและผลิตส่งมอบให้ รพ.คูเมือง มทร.อีสาน และ มก. วิทยาเขตเฉลิมเกียรติ จ.สกลนคร เป็นแหล่งปลูกและผลิตส่งให้ รพ.อาจารย์ฝืน อาจาโร
3.ภาคกลาง สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งปลูกและผลิตกัญชาสดส่งให้ รพ.ดอนตูม จ.นครปฐม และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ปลูกและผลิตส่งให้กองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร และ
4.ภาคใต้ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จ.สุราษฏ์ธานี จะปลูกและผลิตกัญชาสดส่งให้ รพ.ท่าฉาง
รศ.โฆษิต กล่าวว่า การปลูกกัญชาจะต้องได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติด้านการเพาะปลูกที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และมาตรฐานการปลูกแบบเมดิคัล เกรด (Medical Grade) หรือมาตรฐานเกรดทางการแพทย์ที่นานาชาติให้การยอมรับ รวมทั้งเปืนการปลูกแบบอินทรีย์ (ออร์แกนิก) เพื่อให้ปราศจากสารเคมีและสารปนเปื้อน ไดมาตรฐานมากที่สุด โดยในเดือนตุลาคมนี้คาดการปลูกจะได้ในส่วนของใบอย่างแน่นอน
สำหรับพื้นที่ปลูกของ มทร.อีสาน จะปลูกภายในโรงเรือน โดยมีพื้นที่ปลูก รวมทั้งหมด 8 โรงเรือน คาดจะได้กัญชาสดประมาณถึง 4,000 ตัน จากนั้น มทร. อีสาน จะส่งมอบวัตถุดิบให้กรมการแพทย์แผนไทยฯเกือบทั้งหมด และนำบางส่วนมาวิจัยในการปลูก
ครั้งต่อไป ซึ่งกระบวนการทุกขั้นตอนจะต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อที่จะสามารถนำกัญชาสดไปปรุงยาตำรับไทย 16 ตำรับให้ผู้ป่วยที่กำลังรอคอยไปใช้ได้ทันที
นพ.มรุต กล่าวว่า กัญชาเป็นฟืชไทยที่ใช้รักษาโรคมานาน โดยครั้งนี้เป็นความร่วมมือ เพื่อนำไปศึกษาการปลก วิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ทางการแพทย์ ตามที่ได้รับอนุญาตในการใช้ปรุงยาและสั่งจ่ายยาที่มีกัญชาผสมอยู่ ซึ่งการปลูกกัญชาต้องปลูกแบบเมดิคัล เกรด เพื่อให้ได้คุณภาพที่ใช้ทางการแพทย์ได้ คือ ปราศจากสิ่งเจือปนหั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ สารปน
เปื้อนโลหะหนัก หญ้าฆ่าแมลงอันตราย และ
จุลชีพพืช ทั้งนี้ คาดว่าการปรุงยาตำรับแพทย์
แผนไทยทั้ง 16 ตำรับ จะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน ซึ่งเบื้องตันต้องการกัญชาสดประมาณ 11 ตัน
“นอกจากนี้ กรมการแพทย์แผนไทยฯ ยังนำวัตถุดิบส่วนหนึ่งมาจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ซึ่งเปินกัญชาแห้ง เบื้องตันพบบางส่วนที่มีคุณภาพดีสามารถนำมาปรุงยาได้ แตยังมีจำนวนน้อย จึงได้ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำมาทดลองสกัดด้วยวิธีพิเศษ เพื่อศึกษาว่าจะแยกโลหะหนักออกมาได้หรือไม่ โดยจะหารือกับ อย. และ ป.ป.ส.ในการแบ่งสรรต่อไป”นพ.มรุต กล่าว
ขณะที่ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้เปืนการปลูกและศึกษาวิจัยไปด้วย สายพันธุ์ที่ใช้อาจจะสูงใหญ่และใช้พื้นที่ในการปลูกมาก โดยจะใช้กัญชาสายพันธุ์กระรอก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ไทยและต้องปลูกแบบออร์แกนิกเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้างตั้งแต่ตันทาง คาดว่าจะปลูกได้ประมาณ 400 ตัน ก่อนจะทำการทดลองปลูกเพื่อเปรียบเทียบตันทุนและสายพันธุ์ให้ได้มาตรฐานการปลูกแบบเมดิคัล เกรด
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันทั้ง 2 มหาวิทยาลัยได้เตรียมความพร้อมโรงเรือนสำหรับปลูกแล้ว จะเริ่มปลูกได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นคาดในอีก 4 เดือน จะได้ผลผลิต