Home ข่าวประชาสัมพันธ์ การเมืองภาคประชาชน : สู่พลวัตรการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่

การเมืองภาคประชาชน : สู่พลวัตรการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่

1051
0
SHARE

การเมืองการปกครองของประเทศไทย ในช่วงนี้ เป็นที่น่าติดตาม ตามติดเป็นอย่างมาก ในห้วงการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่านการเมืองของประเทศไทย ในช่วงนี้ ฟังติดตามข่าวสาร การจัดตั้งรัฐบาล ว่าฝ่ายไหนจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่า แต่ละฝ่ายตั้งปณิธาน ว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ฝ่ายเผด็จการ ก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นวาทะศิลป์ วาทะกรรมทางการเมือง เพื่อเรียกความโดดเด่น ความสนใจทางการเมืองการปกครอง ให้ประชาชนบางกลุ่มชื่นชอบ ชื่นชม กัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าการเมืองจะออกทางไหนอย่างไร ก็ตาม เราไม่สามารถหลีกหนีการเมืองได้ เราคงได้ยินคำว่า การเมืองน่าเบื่อ เบื่อหน่ายการเมือง แต่กระนั้นก็ตามเราไม่สามารถหลีกหนีการเมืองได้เลย ฉันท์ได ก็ฉันท์นั้น

ในเมื่อเราไม่สามารถหลีกหนีการเมืองได้ ดั้งนั้นแล้ว เราจึงจำเป็นที่จะต้องมาร่วมออกแบบการเมืองสมัยใหม่ๆ ทำงานนำพาการเมืองด้วยกันในการพัฒนาชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง และการพัฒนาประเทศไปพร้อมๆกับการเมืองควบคู่กับการพัฒนาการเมืองแบบมีส่วนร่วมรวมกันจากประชาชนอย่างแท้จริง นั้นก็คือ การเมือง จากการมีส่วนร่วม ของประชาชน ในการออกแบบการทำงานร่วมกัน ในเชิงพื้นที่ คือ ชุมชน ตำบล เมือง จังหวัด จากการมีส่วนร่วมของประชาชนฐานราก ในการออกแบบเป็นเครือข่ายทางการเมือง ในการทำงานร่วมกันในเชิงพื้นที่ตำบล สู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง

ดังทีเราทราบกันในทุกวันนี้ ในการสร้างความเข็มแข็งของชุมชน ประชาชน เข้ามามีบทบาทในการทำงานและการขับเคลื่อนการเมือง ในเชิงพื้นที่มากขึ้น ไม่ว่าทางชุมชนท้องถิ่น มี พรบ.สภาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นเครืองมือให้ภาคประชาชน มีเวทีการทำงานการพัฒนาการออกแบบ การเมืองภาคประชาชนร่วมกัน เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน

ซึ่งเป็นเครืองมือในการทำงานอย่างบูรณาการของประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น และองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจากฐานราก จากการแสดงความคิดเห็น ในการร่วมกันออกแบบการทำงานร่วมกันในการทำงานการพัฒนา ทางการเมือง การปกครอง อย่างแท้จริง สู่การพัฒนาท้องที่ ท้องถิ่น จากฐานราก สู่ความเข็มแข็ง ถึงโครงสร้างของประเทศชาติ ที่พูดแบบนี้ ก็อยากจะบอกให้เห็นว่าแม้ว่าระบบการเมือง การเมือง ของประเทศชาติ จะไปไหนทางอย่างไรก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องมีส่วนร่วมในการนำพาประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ถือเป็นเป้าหมายสำคัญ

แต่กระนั้นก็ตาม การนำพาให้ชาติบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและเข็มแข็ง ผมมองว่าต้องมาจากชุมชน ท้องถิ่นจัดการตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคพลเมืองในเชิงพื้นที่อย่างแท้จริง เราเคยได้ยิน เพลง ผู้ใหญ่ลี พ.ศ.2504 ผมมองว่า เพลงนี้สื่อให้เห็นถึงความการบริหารบ้านเมือง แบบสั่งการ หรือทางการ สุดท้ายแล้วความเข็มแข็งจากชุมชน ท้องถิ่นก็ไม่สามารถนำพาให้ชาติเจริญได้อย่างแท้จริง

ทุกๆวันนี้ เราเห็นได้ว่าการพัฒนา ชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ เรามีการเมืองภาคประชาชน เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น มีการตั้งสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ในการออกแบบ การทำงานในเชิงพื้นที่ ไม่ว่า ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันในการออกแบบ แสดงความคิดเห็นต่างๆในการสร้างนวัตกรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน ท้องถิ่น มีบทบาทในการทำงาน แบบมีส่วนร่วม ในเมื่อชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น มีความเข็มแข็ง ในด้านการจัดการ การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ชุมชน ท้องถิ่น ก็เข้มแข็ง จากฐานราก สู่ความมั่นคงของประเทศชาติ

ผมเองก็เชื่อเสมอว่า ชาติบ้านเมือง จะเข้มแข็ง ต้องเข็มแข็งจากฐานราก หรือพูดง่าย ต้องให้รากหญ้า รากแก้ว เข็มแข็ง ก็จะคงทน ต่อลมฟ้าอากาศ ถ้าเราสมมุติประเทศ เหมือนต้นไม้ แม้ว่าจะเห็นใบไม้เขียวสวยงาม แต่พอเกิดภัยพิบัติสุดท้ายแล้วต้นไม้ต้นนั้นก็ล้ม ไม่สามารถพยุงตนเองได้

ดังนั้นแล้ว การที่จะทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองเข้มแข็งก็ต้องทำให้รากแก้ว แข็งแรง แม้เจอภัยพิบัติ ก็สามารถคงอยู่ได้ เปรียบเสมือนสังคมในประเทศขณะนี้ ที่พยายามสร้างความเข้มแข็ง จากการเมืองภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน ออกแบบการทำงานพัฒนางานด้วยกัน ให้ชุมชน ท้องถิ่น เข้มแข็งจากการเมืองภาคประชาชน ร่วมด้วย ช่วยกันในการสร้างสังคม การเมืองด้วยกัน สู่พลวัตรการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

แม้ว่าการเมืองระดับชาติจะไปทิศทางไหนอย่างไร แต่ถ้าชุมชน ท้องถิ่นเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมจากประชาชน ก็นำพาให้ชาติบ้านเมืองเดินต่อไปได้ ครับ