วันที่ 12 มิ.ย.2562 เพจเฟซบุ๊กรามาแชนแนล Rama Channel ให้ความรู้กรณีเด็กชาวจีนวัย 14 ปี กินชานมไข่มุกจนไข่มุกอุดตันในลำไส้จำนวนมาก และเธอถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้องรุนแรง การขับถ่ายอุจจาระมีปัญหา และรับประทานอาหารไม่ได้มาหลายวัน ภาพซีทีสแกนช่องท้องปรากฎว่า ในกระเพาะและลำไส้ใหญ่ทุกส่วนรวมถึงทวารหนักเต็มไปด้วยไข่มุกจากชานมที่ไม่ย่อย ผสมผสานกับอาหารชนิดอื่นๆ ที่เธอรับประทาน ทำให้อุจจาระเหนียวกว่าปกติ และเป็นอุปสรรคต่อการขับถ่าย แพทย จึงได้ให้ยาระบายกับเด็กหญิง เพื่อช่วยนำอุจจาระที่อืดอยู่เต็มนั้นออกมาจากร่างกาย และท้ายที่สุด แพทย์ได้ให้ความรู้ว่า ไข่มุกทำมากแป้งมันสำปะหลังซึ่งย่อยยาก อีกทั้งผู้ผลิตบางรายยังเติมสารเพิ่มความข้นหนืดและสารปรุงแต่งอาหารลงไปด้วยเพื่อให้เคี้ยวได้นานขึ้น เมื่อบริโภคต่อเนื่องเป็นปริมาณมากก็จะส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร
ล่าสุดเมื่อ นพ.นรินทร์ อจละนันท์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อสังเหตุว่า ข่าวที่เกิดขึ้นและสิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ของจริงด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
1.ไข่มุกในชานมเป็นแป้ง แต่ภาพในฟิล์มเอกซเรย์ เห็นเป็นสีขาว ซึ่งโดยทั้วไปแล้วการเอกซเรย์จะเห็นเป็นสีขาวได้ สิ่งนั้นต้องมีความแข็งพอสมควร เช่น กระดูก หรือ อุจจาระที่อัดแน่น
2. เม็ดของไข่มุกในชานม เป็นแป้งมันสำปะหลัง เมื่อกินเข้าไปแล้วจะถูกย่อยที่ลำไส้เล็ก เพราะฉะนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะเห็นลักษณะของเม็ดในฟิล์มเอกซเรย์ แต่สิ่งที่เห็นน่าจะเป็นอุจาระที่อัดแน่นมากกว่า
นพ.นรินทร์ ระบุว่า ตัวไข่มุกในชาไม่น่าจะเป็นสาเหตุของการอุดตันในลำไส้ได้ ยกเว้น ผู้ที่บริโภคมีโรคผิดปกติ เช่น ลำไส้เล็กตีบจากพังผืด ก้อน หรือแผล และโดยทั่วไปเม็ดไข่มุกที่ทำจากแป้งมันสำปะหลังจะไม่สามารถอุดตันในลำไส้ได้ แต่สิ่งที่ผสมในไข่มุกที่ไม่ใช่แป้งหรือชานมไข่มุกปลอมอาจจะทำให้เกิดการอุดตันได้