ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
เหตุผลแบบตรงไปตรงมา คือ
- บุคลากรทางการแพทย์ ยังไม่รู้จักกัญชา และไม่รู้จักระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์มากพอ เพราะด้วยความที่เป็นยาเสพติดมาก่อน และการค้นพบระบบนี้ ก็ใหม่มาก ใหม่จนบุคลากรที่ทำงานดูแลคนไข้อยู่ทุกวันนี้ ไม่ทราบว่า มันเกี่ยวข้องระดับไหนในการเกิดโรคต่างๆขึ้นมา และจะจัดการอย่างไร เพราะไม่มีในหลักสูตรเรียนปกติ
- การใช้กัญชา กับ การตอบสนองของกัญชาในร่างกาย ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย บุคคลากรทางการแพทย์ ถูกฝึกมาให้คำนวณยาที่ใช้ บนพื้นฐาน ที่ไม่มีความซับซ้อนเท่าไร เช่น ยาบางชนิดก็ใช้สถิติส่วนใหญ่กำหนดขนาดยาไปเลย หรือ ยาบางชนิดก็คำนวณตามขนาดน้ำหนัก ตามการทำงานของไต แต่นั่นก็ยังถือว่า ง่ายมากๆ เมื่อเทียบกับกัญชา เพราะรู้ว่า ควรจะเริ่มที่กี่มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ปรับขึ้นปรับลงตามการทำงานของไต แต่สำหรับกัญชา ไม่ใช่แบบนั้นเลย ไม่มีขนาดยาที่แนะนำสำหรับการใช้ มีเพียงแค่ว่า ควรจะเริ่มต้นอย่างไร
- การตอบสนองของคนไข้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และช้าเร็ว แตกต่างกันอีก บุคคลากรทางการแพทย์อาจรอปรับยาคนไข้เพื่อดูการตอบสนองเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน แต่สำหรับกัญชา ถ้าจะปรับให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องปรับกันเป็นรายวัน รายชั่วโมง ซึ่งในทางปฎิบัติ ผมจึงมักบอกว่า อย่าโยนภาระนี้ให้บุคคลากรทางการแพทย์ เพราะมันมองเห็นความล้มเหลวในการใช้กัญชาตั้งแต่ยังไม่เริ่ม
- ความชัดเจนบนหลักฐานงานวิจัย เพราะบุคลากรทางการแพทย์ ต้องยึดตามงานวิจัย เพราะถ้าไม่ยึด พลาดมา หมายถึง การฟ้องร้อง ตามกรอบกฎหมายได้ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า หลักฐานทางงานวิจัย แบบยาเคมี ไม่อาจนำมา ใช้ตัดสินหลักฐานทางการวิจัยแบบยาสมุนไพรได้ ซึ่งทุกวันนี้ เราเอามามั่วกันไปหมด และพยายามจะหาว่าใครดีสุด ทั้งที่ใช้ร่วมกันได้ และดีสุดต่อผู้ป่วย
- ทัศนคติที่ล้าหลัง และผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีส่วนกำหนดระบบการรักษาและดูแลสุขภาพของคนในประเทศนี้
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
matemnews.com
29 มิถุนายน 25862