เฟชบุ้ค Chinese Embassy in Bangkok เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
Chinese Embassy Spokesperson’s Remarks on Mekong-related Media Report Targeting China
คำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ว่าด้วยคำวิภากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขง(please find Thai version bellow)
The Chinese Embassy in Thailand has noted certain media’s recent report on the Mekong River with false accusations against China. Ignoring the joint efforts made by China, Thailand and other relevant parties to promote Mekong water resources cooperation for the benefit of the people in the region, these groundless accusations mislead the readers, and undermine the good atmosphere of sub-regional cooperation.
The Chinese Embassy in Thailand would like to share the following facts:
- On Ecological and Environmental Protection of the Mekong River
The Mekong River, connecting China, Thailand, Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam closely together, is a gift from nature and embodies a natural bond of mutual support. While committing itself to promote green development, “protect the environment like we protect our eyes and treat the environment like it is our lives”, China also bears this concept in mind when conducting cooperation with Mekong countries.
Under the framework of Lancang-Mekong Cooperation, our six countries have established the Environmental Cooperation Center and Water Resources Cooperation Center, implemented the Green Lancang-Mekong Plan and a Five-Year Action Plan on Water Resources Cooperation. We have also actively engaged in sustainable infrastructure construction, investment and financing. With the aim of building a green railway, the China-Laos Railway project has synchronized environmental protection with construction at the stages of design, implementation and inspection, which is hailed by the government and people of the Laos. The six countries, international organizations and NGOs never cease their efforts to enhance technical cooperation, as well as personnel and information exchanges for the purpose of realizing environmental protection and sustainable development of the Mekong basin.
- On So-called “Rapids Blasting”
From 2016 to 2017, the preliminary work was done on the second phase of the Navigation Channel Improvement Project under the Greater Mekong Subregion Economic Cooperation (GMS), according to the consensus reached by governments of China, Thailand, Myanmar and Laos. Experts from the four countries carried out the Environmental and Social Impact Assessment on the premise of not affecting the natural and geographical features of the Lancang-Mekong River. The preliminary work also involved relevant parties including the NGOs and took into full consideration different parties’ views. Up till now, our four countries have had no engineering plan, let alone any action of the so-called “rapids blasting”.
III. On the Role of Cascade Hydropower Stations
Frequent floods and droughts in the Mekong basin are the effects of global climate change. The construction of cascade reservoirs on the Lancang River is an effective measure against climate change. The cascade hydropower stations which discharge water in the dry season and store water in the wet season, are able to help adjust the water level of the Lancang-Mekong River. Through scientific regulation, the average outflow of the Lancang River in the dry season could be 70% higher than that under natural conditions, and in the wet season 30% lower than that under natural conditions, reducing effectively economic losses caused by the abnormal fluctuation of water level of the Mekong River to the riverine communities.
Currently, the amount of water at the Chiang Saen-Vientiane section of the Mekong River could be increased by 30% to 50%, and the water level raised by 0.6 to 1.9 meters during the dry season. While in the wet season, the amount of water could be reduced by 10% to 20%, and the water level lowered by 0.4 to 1.3 meters. Thanks to the reservoirs’ water supplement during the dry season, for the first time in the dry season could ships navigate through the upper and middle reaches of the Mekong River where the water is shallow and shoals scatter. Local communities are thus provided with a more convenient and green way of transportation.
In 2013 and 2016, the entire Lancang-Mekong River was struck by severe droughts. China, although hit by the disaster, provided emergency water supplement to the downstream Mekong River despite all the difficulties, helping 60 million people in the downstream area to get over droughts. The Mekong River Commission (MRC) wrote on its website in 2017 that droughts in the Mekong basin are not caused by upstream water dams, on the contrary, when droughts occur due to extreme weather conditions, upstream water dams play an important role by storing water in the wet season for discharge in the dry season.
- On Notification of Hydrological Data
As an upstream country, China always pays great attention to the concerns and requirements of countries in the downstream reaches of the Mekong River, and stays in close communication with them to share hydrological data and conduct cooperation in related areas. Starting from 2003, the Chinese side has been providing flood season hydrological data of the Lancang River through the MRC to Thailand, Cambodia, Laos and Vietnam, informing them in advance of the regulation schemes of the dams. Both the MRC and downstream countries have expressed their appreciation. In early June this year, at the special meeting held by the Joint Working Group of Lancang-Mekong Water Resources Cooperation, the Chinese side announced to provide data directly to downstream countries. The line of communication between China and downstream countries in terms of hydrological data is unimpeded and transparent.
Especially, in accordance with the assessment done by the MRC in 2016, the combined capacity of reservoirs built by Mekong countries on the branches of the river has exceeded that of the cascade reservoirs built by China on the mainstream of the Lancang River. The outflow of the Lancang River accounts for only 13.5% of the runoff at the estuary of the Mekong River.
Shared River, Shared Future. The green, coordinated, and sustainable development of the Mekong River calls for mutual trust, mutual understanding, mutual support, enhanced coordination, mutual accommodation of each other’s concerns and proper balance between economic development and ecological conservation. The Chinese side will work even more closely with countries including Thailand, through mechanisms such as the LMC, MRC and GMS, to make the Lancang-Mekong River a river of friendship, cooperation and prosperity.
คำแถลงของโฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ว่าด้วยคำวิภากษ์วิจารณ์ที่เกี่ยวกับจีนในปัญหาน้ำแม่น้ำโขง
สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยทราบข่าวมาว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อมวลชนบางสื่อได้รายงานข่าวเกี่ยวกับปัญหาน้ำแม่น้ำโขง ด้วยคำวิภากษ์วิจารณ์จีนอันเป็นเท็จ ซึ่งข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น ไม่มีหลักฐานและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยมองข้ามความพยายามของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงจีนและไทยในการผลักดันความร่วมมือในด้านทรัพยากรน้ำแม่น้ำโขง เพื่อบำเพ็ญความสุขให้กับมวลประชาชนในภูมิภาค ทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน ซึ่งได้ทำลายบรรยากาศความร่วมมืออันดีในอนุภูมิภาคฯ
สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยขอแจงข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
- เกี่ยวกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมแม่น้ำโขง โดยแม่น้ำโขงได้ผูกเชื่อมจีน ไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม 6 ประเทศอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟ้าโปรดให้อาศัยอยู่รอด และเป็นสายเชื่อมโยงธรรมชาติที่ต่างช่วยเหลือกันของพวกเรา จีนได้ทุ่มกำลังในการผลักดันการพัฒนาแบบสีเขียวไร้มลภาวะ “อนุรักษ์ระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมเสมือนการปกป้องดูแลลูกตา ปฏิบัติต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมเสมือนการปฏิบัติต่อชีวิต” และเข้าร่วมความร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงด้วยแนวความคิดดังกล่าว ทั้ง 6 ประเทศได้สร้างศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนิน “แผนโครงการแม่น้ำลานช้าง-แม่น้ำโขงสีเขียวไร้มลภาวะ” และ “แผนปฏิบัติการความร่วมมือด่านทรัพยากรน้ำระยะ 5 ปี” ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำลานช้าง-แม่น้ำโขง ทั้ง 6 ประเทศได้ดำเนินการสร้างและการลงทุน การจัดหาทุนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่ยั่งยืนอย่างแข็งขัน ทางรถไฟจีน-ลาวได้ยึดถือการสร้าง “ทางสีเขียว” เป็นเป้าหมาย ยืนหยัดให้งานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับโครงการก่อสร้างมีการออกแบบพร้อมกัน ก่อสร้างพร้อมกันและตรวจรับพร้อมกัน ซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและประชาชนของลาว รัฐบาล 6 ประเทศได้ใช้ความพยายามร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศและเอ็นจีโออย่างต่อเนื่องในการกระชับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลย และการแลกเปลี่ยนบุคลากรและข้อมุลข่าวสาร ผลักดันให้ภูมิภาคแม่น้ำโขงบรรลุซึ่งการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
- เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “การระเบิดแก่งหิน” งานเตรียมล่วงหน้าโคงการปรับปรุงร่องน้ำแม่น้ำโขงระยะที่สอง ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) ได้เริ่มดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2560 ตามความเห็นพ้องต้องกันของรัฐาลจีน ไทย พม่า ลาว 4 ประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญของทั้ง 4 ประเทศได้ดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมของโครงการภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติทางภูมิศาสตร์ธรรมชาติแม่น้ำลานช้าง-แม่น้ำโขง โดยงานเตรียมล่วงหน้าได้เชิญฝ่ายต่างๆ เข้าร่วม รวมทั้งเอ็นจีโอด้วย ได้รับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ อย่างเต็มที่ จนถึงปัจจุบันนี้ ทั้ง 4 ประเทศยังไม่มีแผนโครงการ จึงไม่ต้องพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าปฏิบัติการ “ระเบิดแก่งหิน”
- เกี่ยวกับบทบาทของสถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันได การเกิดภัยแล้งและภัยน้ำท่วมบ่อยในลุ่มแม่น้ำโขงในปัจจุบันนี้ เป็นปรากฏการณ์อากาศผิดปกติในขอบข่ายทั่วโลก การที่ฝ่ายจีนสร้างเขื่อนแบบขั้นบันไดตามแม่น้ำลานช้าง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ สถานีกำเนิดไฟฟ้าแบบขั้นบันไดนั้นปล่อยน้ำในหน้าแล้ง กักเก็บน้ำในหน้าฝน ซึ่งจะเป็นการ “ปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ต่อแม่น้ำโขง หลังการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำที่ไหลออกนอกประเทศของแม่น้ำลานช้างได้เพิ่ม 70% ในหน้าแล้ง และลดลง 30% ในหน้าฝนเมื่อเทียบกับสภาพแบบธรรมชาติเดิม ซึ่งได้ลดค่าเสียหายทางเศรษฐกิจของมวลประชาชนสองฟากฝั่งอันเกิดจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงผิดปกติ ปัจจุบันนี้ น้ำแม่น้ำโขงช่วงจากเชียงแสนถึงเวียงจันทร์ จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 30%-50% และระดับน้ำสูงขึ้น 0.6-1.9 เมตรในหน้าแล้ง และจะมีปริมาณน้ำลดน้อยลง 10%-20% ระดับน้ำลดลง 0.4-1.3 เมตรในหน้าฝน ผู้ประกอบกิจการเดินเรือขนส่งสองฟากฝั่ง สามารถเดินเรือได้ในหน้าแล้งเป็นครั้งแรกในแม่น้ำโขงตอนกลางและตอนบนที่มีน้ำตื้นแก่งหินเยอะภายใต้บทบาท “เพิ่มน้ำหน้าแล้ง” ซึ่งได้อำนวยรูปแบบการขนส่งคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นและเป็นสีเขียวปราศจากมลภาวะแก่ประชาชนสองฟากฝั่ง ปี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ.2559 แม่น้ำลานช้าง-แม่น้ำโขงประสบภัยแล้งอย่างร้ายแรงในทั่วลุ่มแม่น้ำ จีนได้อดทนดำเนินการเพิ่มน้ำฉุกเฉินต่อแมน้ำโขงตอนล่าง ช่วยประชาชน 60 ล้านคนตามแม่น้ำโขงตอนล่างได้ผ่านพ้นภัยแล้งอย่างปลอดภัย ทั้งๆ ที่ตนเองก็ประสบภัยแล้งอย่างลำบากมาก
เว็บไซต์ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงได้อั๊พโหลดบทความเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยชี้ว่า “ความแห้งแล้งของแม่น้ำโขงไม่ได้เกิดจากสถานีกำเนิดไฟฟ้าที่ตอนบนของแม่น้ำ ตรงกันข้าม การปรับลดน้ำท่วม เพิ่มน้ำหน้าแล้งของเขื่อนแม่น้ำตอนบน ได้มีบทบาทสำคัญในขณะที่เกิดความแห้งแล้งภายใต้เงื่อนไขอากาศรุนแรงสุดขั้ว”
- เกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลอุทกวิทยา (Hydrological information) ในฐานะประเทศแม่น้ำโขงตอนบน ฝ่ายจีนให้ความสำคัญอย่างสูงแต่ต้นจนปลายต่อความห่วงใยและความต้องการของประเทศแม่น้ำโงตอนล่าง โดยได้รักษาการติดต่อสื่อสารกับประเทศแม่น้ำโงตอนล่างอย่างแน่นแฟ้น และทุ่มกำลังดำเนินความร่วมมือในด้านการแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยากับประเทศที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายจีนเริ่มให้ข้อมูลอุทกวิทยาแม่น้ำลานช้างในหน้าฝนแก่ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม 4 ประเทศผ่านคณะกรรมการแม่น้ำโขงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยแจ้งแผนการปรับน้ำเขื่อนล่วงหน้า ซึ่งทางคณะกรรมการแม่น้ำโขงและประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างได้แสดงความขอบคุณหลายๆ ครั้ง หน่วยทำงานผสมความร่วมมือทางทรัพยากรน้ำแม่น้ำลานช้าง-แม่น้ำโขง ได้เปิดการประชุมวิสามัญเมื่อต้นเดือนมิถุนายนปีนี้ ฝ่ายจีนได้ให้ข้อมูลอุทกวิยาหน้าฝนของแม่น้ำลานช้างแก่ประเทศภาคีสมาชิกแม่น้ำโขงตอนล่างความร่วมมือแม่น้ำลานช้าง—แม่น้ำโขงโดยตรง ช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกวิทยาระหว่างรัฐบาลของฝ่ายจีนกับประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง เป็นช่องทางที่คล่องและโปร่งใส
สิ่งที่ต้องชี้ให้เห็นเป็นพิเศษคือ ผลการประเมินของคณะกรรมการแม่น้ำโขงเมื่อปี พ.ศ. 2559 ปรากฏว่า ยอดรวมปริมาณน้ำในเขื่อนของประเทศต่างๆ ตามแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง มีมากกว่ายอดปริมาณน้ำในเขื่อนขั้นบันไดของแม่น้ำลานช้างสายหลักของฝ่ายจีน ปริมาณน้ำแม่น้ำลานช้างที่ไหลออกนอกประเทศจีน เป็นเพียง 13.5% ของปริมาณน้ำแม่น้ำโขงตอนปากน้ำออกทะเล
“ดื่มน้ำแม่น้ำสายเดียวกัน ร่วมชะตากรรมแบ่งปัน” การส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างปราศจากมลภาวะ ประสานงานกันและยั่งยืนนั้น ต้องการความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความเข้าใจกันและกัน การสนับสนุนซึ่งกันและกัน การกระชับความร่วมมือกัน การคำนึงถึงความห่วงใยของกันและกัน การบูรณากันในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ให้ดี ฝ่ายจีนยินดีที่จะกระชับความร่วมมือต่อไปกับประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ผ่านกลไก ความร่วมมือแม่น้ำลานช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) คณะกรรมการแม่น้ำโขง (MRC) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจแม่น้ำโขง เพื่อที่จะทำให้แม่น้ำโขงกลายเป็นแม่น้ำแห่งมิตรภาพ แม่น้ำแห่งความร่วมมือ และแม่น้ำแห่งความเจริญรุ่งเรือง
matemnews.com
6 กรกฎาคม2562