ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๖๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ลาดับที่ ๑ ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๓๑กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ลำดับที่ ชื่อยาเสพติดให้โทษ ชื่อทางเคมี เงื่อนไข
๑ กัญชา (cannabis) – ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง
– ทุกส่วนของพืชกัญชา เช่น ใบ ดอก ยอด ผล ลำต้น
– วัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน
ยกเว้น
๑. กัญชง (hemp) ที่ได้ประกาศเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
๒. แคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) ที่สกัดจากกัญชาซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๙๙ โดยมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ ๐.๐๑ โดยน้ำหนัก
๓. สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบหลักและมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน ร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร เท่านั้น
ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา ๕ ปีแรกนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การยกเว้นให้ใช้บังคับเฉพาะกับการผลิตในประเทศ ของผู้รับอนุญาตตามกฎหมายนั้น ๆ
๔. เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นลำดับที่ ๕ ของชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ลำดับที่ ชื่อยาเสพติดให้โทษ ชื่อทางเคมี เงื่อนไข
- กัญชง (hemp) – ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativaอันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึง ทุกส่วนของพืชกัญชง เช่น ใบ ดอก ยอดผล ลำต้น ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล(tetrahydrocannabinol, THC) และลักษณะเป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ยกเว้น
๑. แคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) ที่สกัดจากกัญชงซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๙๙ โดยมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC)ไม่เกินร้อยละ ๐.๐๑ โดยน้ำหนัก
๒. สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัด ที่มีสารแคนนาบิไดออล( cannabidiol, CBD) เ ป็นส่วนประกอบหลัก และมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC)ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร เท่านั้น
๓. เมล็ดกัญชง (hemp seed) หรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง(hemp seed oil) ซึ่งเป็นอาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางอาหารเท่านั้น
๔. น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ซึ่งเป็นเครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอางและต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางเครื่องสำอางเท่านั้น ทั้งนี้ เมล็ดกัญชงที่นำไปเป็นอาหาร หรือเครื่องสำอางต้องเป็นเมล็ดที่ไม่สามารถนำไปเพาะพันธุ์ได้ (non-viable seed) หรือถูกทำให้ไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดลำดับที่ ชื่อยาเสพติดให้โทษ ชื่อทางเคมี เงื่อนไข
๔. เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งภายในระยะเวลา ๕ ปีแรกนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การยกเว้นตามข้อ ๒ ถึงข้อ ๔ ให้ใช้บังคับเฉพาะกับการผลิตภายในประเทศของผู้รับอนุญาตตามกฎหมายนั้น ๆ
ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ
………………………..
นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส
31 ส.ค.2562
“สาระสำคัญของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกมาล่าสุดที่แก้ไขนั้น เป็นเพียงการเพิ่มเติม โดยระบุให้ยกเลิกชื่อยาเสพติดประเภท 5 ลำดับ 1 คือ “กัญชา” และยาเสพติดประเภท 5 ลำดับ 5 คือ “กัญชง” ว่า กัญชาและกัญชง ยังคงถูกกำหนดให้เป็นยาเสพติดประเภท 5 แต่มีการกำหนดยกเว้นให้เฉพาะเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งของกัญชาและกัญชง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง ไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้เดิม ได้มีการกำหนดข้อยกเว้นเพิ่มเติม ให้สาร CBD บริสุทธิ์ร้อยละ 99 ที่มี THC ผสมไม่เกินร้อยละ 0.01 สารสกัด CBD หรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัด CBD ที่มีสาร THC ผสมไม่เกินร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นยาหรือเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือสมุนไพร เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชงที่ใช้ในอาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และน้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงที่ใช้ในเครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง ไม่ถือว่าสิ่งดังกล่าวเป็นยาเสพติดให้โทษต่อไป ทั้งนี้ เมล็ดกัญชงที่นำมาใช้เป็นอาหารหรือเครื่องสำอาง ต้องเป็นเมล็ดที่ไม่สามารถนำไปเพาะพันธุ์ได้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร และเครื่องสำอาง ซึ่งส่วนผสมของสารสกัด CBD เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เข้ามาในประเทศอย่างเสรีโดยไม่ผิดกฎหมาย ประกาศดังกล่าว ได้กำหนดให้ในช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก (นับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 62 เป็นต้นไป) จะต้องเป็นการผลิตในประเทศเท่านั้น กัญชาและกัญชง ยังเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 การผลิต เพาะปลูก นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง หรือเสพ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมาย จึงขอเตือนพี่น้องประชาชน อย่าเข้าใจผิด เพราะกัญชาและกัญชง ยังคงมีสถานะเป็นยาเสพติด ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขนั้น ก็จะต้องไปออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานเกี่ยวกับการนำเมล็ดกัญชง น้ำมันหรือสารสกัดจากกัญชงหรือกัญชา ไปใช้เป็นส่วนผสมในยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร และเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศไทยให้ประชาชนรับทราบต่อไป”
matemnews.com
31 สิงหาคม 2562