Home ข่าวทั่วไปรอบวัน กรมอุทยานฯ แถลงข่าว กรณีเสือโคร่งของกลางป่วยตาย

กรมอุทยานฯ แถลงข่าว กรณีเสือโคร่งของกลางป่วยตาย

404
0
SHARE

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชี้แจงกรณีสาเหตุการตายของเสือโคร่ง ที่รับมาจากวัดหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จังหวัดกาญจนบุรี วานนี้ (16ก.ย.) ว่า

        จากกรณีที่มีข่าวว่าเสือโคร่งของกลางได้ป่วยตาย ซึ่งเป็นเสือโคร่งที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ตรวจยึดจากวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี จำนวน 147 ตัวและ นามาดูแล ณ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ราชบุรี

          นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการที่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เข้าตรวจยึด เสือโคร่งภายใน สานักสงฆ์ (หลวงตาบัว) จำนวน 7 ตัว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2544 (คงเหลือ 6 ตัว เนื่องจากตายระหว่างการขนย้าย) ในบริเวณ สานักสงฆ์หลวงตาบัวทั้งหมด โดยไม่ทราบตัวผู้กระทำผิดและคณะเจ้าหน้าที่ได้ฝากเลี้ยงเสือโคร่งและสัตว์อื่นๆ ที่อยู่ภายในบริเวณพื้นที่ของสานักสงฆ์หลวงตาบัวโดยสัตว์ป่าของกลางทั้งหมด ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากไม่มีบุคคลใดมาแสดงตนเป็นเจ้าของ

ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ พยายามที่จะจัดการกับสัตว์ป่าของกลาง ที่ตกเป็น ของแผ่นดินมาโดยตลอด แต่ไม่สามารถดำเนินการย้ายออกมาจากวัดฯได้ จนเสือโคร่งได้สืบขยายพันธุ์เพิ่ม จำนวน เป็น 147 ตัว และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ รับแจ้งว่ามีเสือโคร่งสูญ หายไปจากสถานที่เลี้ยงดูสัตว์ป่า ภายในวัดป่าหลวงตาบัวฯ จำนวน 3 ตัว

กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ จึงได้เข้าเคลื่อนย้ายเสือโคร่งจากวัดป่าหลวงตาบัวฯ โดยเริ่มทยอยเคลื่อนย้ายบางส่วนในเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2559 จำนวน 10 ตัว และขนย้ายที่เหลือทั้งหมดช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน 2559 นำไปเก็บรักษาไว้ที่ สถานี เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง จำนวน 85 ตัว และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จำนวน 62 ตัว รวม 147 ตัว

จากการตรวจสอบDNAส่วนใหญ่เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ไซบีเรียและเกิดจากการผสมพันธุ์กันเอง เสือโคร่ง ของกลางจากจานวน 6 ตัว ทั้งนี้ ก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้ายเสือโคร่งจากวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ มีการเคลื่อนย้ายเสือโคร่งเดิมของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ไป ยังสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแห่งอื่นๆ เกือบทั้งหมด คงเหลือบางส่วนที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง จำนวน 6 ตัว สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จำนวน 3 ตัว
ขณะที่ปัญหาการเจ็บป่วย/ตาย ของเสือโคร่ง ที่รับมาจากวัดหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน

นายสุนทร ฉายวัฒนะ หัวหน้ากลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเสือโคร่งของกลาง จากวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี จำนวน 147 ตัว เป็นการดำเนินการในภาวะไม่ปกติ เสือโคร่งที่เคลื่อนย้ายมา ส่วนใหญ่มีภาวะเครียด เนื่องมาจากการขนย้ายและเปลี่ยนสถานที่ ซึ่งต่อมาพบปัญหา การเจ็บป่วย

2.1 พบว่ามีปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีอาการหายใจเสียงดังเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นอาการอัมพาตลิ้น กล่องเสียง ทำให้การหายใจเข้าออกลำบาก เมื่ออาการหนักมากขึ้นจะไม่กินอาหาร มีอาการชักเกร็ง และตาย ในที่สุด

2.2 พบการติดเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข (CanineDistemperVirus,CDV) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในสุนัข และ สัตว์ป่าหลายชนิดรวมทั้งเสือโคร่ง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาเป็นการเฉพาะทำได้เพียงการรักษาตามอาการ ซึ่ง ภายหลังจากการติดเชื้อจะพบอาการผิดปกติในระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารด้าน การดูแลรักษาเสือโคร่งในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างและสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสนที่ ผ่านมา

นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กล่าวว่า ภายหลังจากที่ตรวจ พบอาการระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากลิ้นกล่องเสียงมีอาการบวม ไม่สามารถขยับเปิดปิดระหว่างหลอดลม กับหลอดอาหารได้สนิท ทำให้หายใจลำบากมีเสียงดังและมีอาการหอบ หากมีปัจจัยของอุณภูมิที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อ อาการเครียดและตายเฉียบพลัน การรักษาสัตวแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะลดอาการ อักเสบ ลดไข้ รักษาอาการภูมิแพ้ บางตัวพบว่ามีอาการหายใจเสียงดังมากสัตวแพทย์จะดำเนินการผ่าตัด แต่ยังไม่ ทราบสาเหตุการเกิดอาการของโรคที่แน่ชัด

ต่อมาส่งตัวอย่างเสือโคร่งที่ตาย พบว่าให้ผลบวกต่อเชื้อไข้หัดสุนัข (CanineDistemperVirus,CDV) ซึ่งการรักษาดังกล่าวไม่มียารักษาเป็นการเฉพาะ สัตวแพทย์ต้องดำเนินการรักษา ตามอาการ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยากระตุ้นภูมิ โดยการดำเนินการสานักอนุรักษ์สัตว์ป่าได้ขอรับการสนับสนุน ผู้เชี่ยวชาญจากคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสัตวแพทย์จากซาฟารีเวิลด์ ในการแก้ไขปัญหาระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากอาการ อัมพาตลิ้นกล่องเสียง และเป็นสาเหตุของการตาย เพื่อดำเนินการผ่าตัดลิ้นกล่องเสียง มิให้ปิดกลั้นระบบทางเดิน หายใจในเสือโคร่งที่แสดงอาการหนัก โดยร่วมกับสัตวแพทย์ของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ดำเนินการผ่าตัด

จากการรายงานของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างในการตรวจตัวอย่างจากห้องปฏิบัติการ ปัจจุบันไม่พบการแพร่ระบาดเชื้อโรคไข้หัดสุนัข แต่เสือโคร่งยังมีอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียงที่เป็นสาเหตุการตาย ซึ่งสัตวแพทย์ได้ดำเนินการรักษาตามอาการ และกำหนดแนวทางการในการดูแลเสือโคร่งที่เหลืออยู่ให้มีมีอัตราการตายลดลงและมีสวัสดิภาพที่ดีขึ้น

สรุปข้อมูลจำนวนเสือโคร่งในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เขาสน (30 ส.ค. 62) นายสุนทร หัวหน้ากลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ให้ข้อมูลว่า สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง มีจานวนเสือโคร่ง 45 ตัวเป็นเสือโคร่งที่รับมาจากวัดหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน คงเหลือ 31 ตัว จากที่รับมา 85 ตัว ตาย 54 ตัว (พ.ค.59 – 15 ส.ค. 62) และมีเสือโคร่งของกลางในคดีอื่นๆ จำนวน 5 ตัว และเสือโคร่ง จากการส่งมอบคืนให้กรมอุทยานฯ 9 ตัว

ขณะที่ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน มีเสือโคร่ง จำนวน 33 ตัว เป็นเสือโคร่งที่รับมาจากวัดหลวงตา บัวญาณสัมปันโน คงเหลือ 30 ตัว จากที่รับมา 62 ตัว ตาย 32 ตัว (มี.ค. 60 – ก.ค.62) และมีเสือโคร่งของกลางในคดีอื่นๆ จำนวน 3 ตัว ทั้งนี้ เสือโคร่งที่รับมาจาก วัดหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จำนวน 147 ตัว คงเหลือ 61 ตัว ตาย 86 ตัว

ด้านมาตรการดูแลสุขภาพเสือโคร่งในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างและสถานีเพาะเลี้ยง สัตว์ป่าเขาสน นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การ ดูแลรักษาเสือโคร่งในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้างและสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสนได้มีสุขภาพที่ดี ลดอาการป่วย/ตาย ได้กำหนดมาตรการ ดังนี้

1 .การคัดแยกเสือโคร่งตามกลุ่มอาการ โดยแบ่งกลุ่มอาการเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1)กลุ่มปกติ ไม่แสดงอาการ 2) กลุ่มเริ่มแสดงอาการเล็กน้อย 3) กลุ่มแสดงอาการปานกลางถึงรุนแรง เพื่อให้ง่ายต่อการ ตรวจติดตามอาการและประเมินการรักษา

2 การใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข ในเบื้องต้นได้ประสานกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการดำเนินการโดยสัตวแพทย์ของสานักอนุรักษ์สัตว์ป่าจะเก็บอุจจาระและเก็บตัวอย่าง เลือดส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ คณะสัตว แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อทราบผลสัตวแพทย์ของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าจะพิจารณาให้วัคซีนป้องกัน โรคไข้หัดสุนัขตามขั้นตอนและมีการติดตามผลเป็นระยะ

3 การดูแลรักษาเสือโคร่งที่มีอาการป่วย สัตวแพทย์จะดาเนินการให้รักษาและให้ยาตามอาการ สาหรับเสือโคร่งที่มีอาการหายใจเสียงดังอันเนื่องมาจากอาการอัมพาตลิ้นกล่องเสียงและมีโอกาสตายหากไม่ได้ รับการรักษา สัตวแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเป็นรายกรณี โดยอาจเชิญสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมรักษาหรือ ให้คำแนะนำ

4 การควบคุมให้มีระบบความปลอดภัยทางชีวอนามัย ภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทั้ง 2 แห่ง อย่าง เข้มงวด พร้อมการปรับกรงคอกให้มีอากาศถ่ายเทสะดวกและเพิ่มพื้นที่กรงคอก(สนาม)ให้เสือโคร่ง และส่งเสริม พฤติกรรมเพื่อลดความเครียดของเสือโคร่ง

5 มีสัตวแพทย์ปฏิบัติงานประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าทั้ง 2 แห่ง พร้อม สัตวแพทย์จากสานักอนุรักษ์สัตว์ป่าจะสนับสนุนและติดตามการดูแลรักษาทุกสัปดาห์ โดยจะมีการประชุมเพื่อประเมินผลการดูแล รักษา ต่อไป

ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ว่า สัตว์แพทย์ประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง เผยขณะนี้มีเสือโคร่งของกลางวัดป่าหลวงตาบัวฯ อยู่ในความดูแล 31 ตัว อายุ 7-11 ปี มีอาการวิกฤติอยู่ 3 ตัว อายุระหว่าง 6-11ปี ทีมสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาเต็มที่ ล่าสุดไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแล้ว