องค์การเภสัชกรรมได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์สารสกัดน้ำมันกัญชา 3 สูตรตำรับ ได้แก่ สูตร THC สูตร CBD และสูตร THC:CBD 1:1 โดยได้กระจายผลิตภัณฑ์ไปยังโรงพยาบาลนำร่อง 12 แห่งทั่วประเทศในการให้บริการกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันและการศึกษาวิจัยของกรมการแพทย์เรียบร้อยแล้ว ได้แก่
1. รพ.ลำปาง
2. รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก
3. รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์
4. รพ.สระบุรี
5. รพ.ราชบุรี
6. รพ.ระของ
7. รพ.ขอนแก่น
8. รพ.อุดรธานี
9. รพ.บุรีรัมย์
10. รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
11. รพ.สุราษฏร์ธานี
12. รพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
2. รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก
3. รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์
4. รพ.สระบุรี
5. รพ.ราชบุรี
6. รพ.ระของ
7. รพ.ขอนแก่น
8. รพ.อุดรธานี
9. รพ.บุรีรัมย์
10. รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
11. รพ.สุราษฏร์ธานี
12. รพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เนื่องจากกัญชายังถูกกำหนดให้เป็นสารเสพติดประเภท 5 แต่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้โดยกระบวนการควบคุมตามกฎหมายตลอดจนเป็นผลิตภัณฑ์ยาที่สารสำคัญมีฤทธิ์ต่อความปลอดภัยของสุขภาพผู้ใช้โดยเฉพาะ จึงต้องมีกระบวนการใช้ยาอย่างถูกต้อง สมเหตุผล
ผู้ป่วยไม่สามารถหาซื้อมาใช้ได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องได้รับการใช้และสั่งจ่ายโดยแพทย์และเภสัชกรที่ผ่านการอบรม ผู้ป่วยที่ประสงค์ใช้สารสกัดน้ำมันกัญชาเมดิคัลเกรดสามารถเข้ารับบริการในระบบบริการกัญชาทางการแพทย์ที่สธ.กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเข้าร่วมโครงการศึกษาทางคลินิกของกรมการแพทย์
ทั้งนี้มาตรฐานและคุณภาพของกัญชาทางการแพทย์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแพทย์ผู้สั่งใช้และผู้ป่วย กัญชาทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานคุณภาพ ต้องมีส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์ปริมาณคงที่ในทุกรอบการผลิต ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณสารสำคัญของกัญชาเท่าเดิมในทุกครั้ง ทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบปริมาณการรับยาในแต่ละครั้ง รับรู้ความคืบหน้าของอาการ และลดความเสี่ยงในการรับยามากเกินไป และลดเกิดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยได้