Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ให้หาตลาดใหม่แทนสหรัฐฯ

ให้หาตลาดใหม่แทนสหรัฐฯ

354
0
SHARE

 

 

เฟชบุ้ค ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์

ถูกใจเพจนี้ · 1 ชม. ·

 

เรื่องการตัดสิทธิจีเอสพีของสหรัฐอเมริกาที่หลายคนเป็นกังวลอยู่นั้น กรมการค้าต่างประเทศได้เชิญผู้ประกอบการหารือเพื่อรับทราบสถานการณ์และประเมินผลกระทบหากถูกเพิกถอนสิทธิอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 ขณะเดียวกันรัฐบาลได้มีการเจรจาเพื่อขอคืนสิทธิจีเอสพี ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ผ่อนผันและคืนสิทธิจีเอสพีสินค้า 7 รายการ ได้แก่ สินค้าเลนส์แว่นตา กล้วยไม้ ปลาซอร์ดฟิช เห็ดทรัฟเฟิล ช็อคโกแลตและอาหารปรุงแต่งที่มีโกโก้ หนังดิบอื่น ๆ ของสัตว์เลื้อยคลาน และส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า

.

ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาสิทธิพิเศษทางการค้าจีเอสพีมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งจากประเทศที่สหรัฐฯให้สิทธิทั้งหมด 119 ประเทศ การส่งออกของไทยภายใต้การใช้สิทธิจีเอสพีในปี 2561 มีมูลค่าประมาณ 4,315 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 65.7 ของมูลค่าที่ได้รับสิทธิ โดยสิทธิจีเอสพีที่ไทยได้รับมีประมาณ 3,500 รายการ แต่มีการใช้สิทธิเพียงแค่ 1,285 รายการ

.

การเพิกถอนสิทธิในครั้งนี้ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่จะส่งออกสินค้า 573 รายการ จะต้องกลับไปเสียภาษีในอัตราปกติ ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 65.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การใช้สิทธิในปี 2561 ของสินค้า 573 มูลค่าเท่ากับ 1,319 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิร้อยละ 70.8 ของมูลค่าที่ได้รับสิทธิจีเอสพี ประกอบด้วยสินค้า อาทิ มอเตอร์ไซค์ แว่นสายตา เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติกและของทาด้วยพลาสติก อาหารปรุงแต่ง เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ที่ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า ทองแดง ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องประดับ

.

ขณะเดียวกันกรมการค้าต่างประเทศได้แนะนำให้ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิม โดยเฉพาะตลาดอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น รัสเซีย ยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้ ตะวันออกลาง ฯลฯ การใช้ประโยชน์จากประเทศที่ไทยจัดทาความตกลงเขตการค้าเสรี FTA 13 กรอบความตกลง จาก อาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และเปรู การขยายการลงทุนไปยังประเทศที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีสหรัฐฯ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีมากกว่าไทย รวมทั้งปรับกลยุทธ์ในการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่มตัวสินค้า โดยยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพอย่างสม่าเสมอเพื่อรองรับสถานการณ์ทางการค้าในตลาดโลกที่มีการแข่งขันเสรีได้

 

matemnews.com 

29 ตุลาคม 2562