Home ข่าวทั่วไปรอบวัน ลูกจ้างเที่ยวนอกโปรดอ่าน

ลูกจ้างเที่ยวนอกโปรดอ่าน

374
0
SHARE

 

 

สถานการณ์ ‘ไวรัสโคโรน่า’ หรือ ‘โควิด-19’ ขยายวงกว้างในประเทศไทย และในระดับโลก กระทั่งถูกประกาศให้ ‘โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019’ หรือ ‘โรคโควิด 19’ เป็นโรคติดต่ออันตราย

 

ในกรณีเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ขั้นตอนของการซักประวัติ เพื่อช่วยในการรักษาและป้องกันตนเอง โดยการไม่แจ้งจะมีโทษปรับ เป็นมูลค่า 20,000 บาท

 

ถูกกักตัวสังเกตอาการ “โควิด-19” จะยังได้รับ “ค่าจ้าง” หรือไม่

 

กรณีถูกสั่งกักตัวสังเกตอาการ

‘COVID-19’ กรณีลูกจ้างลางานไปประเทศที่มีความเสี่ยง แต่ถูกทางการไทยให้กักตัวเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง 14 วันที่ลูกจ้างถูกกักบริเวณหรือกักตัวหรือไม่

 

สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ได้ตอบคำถามประเด็นนี้ โดยสรุปว่า

 

หากกรณีที่ทางการกักตัวลูกจ้างที่เดินทางกลับเข้าไทยไว้ เป็นการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตาม ม.34 (1) และ ม.52 ตาม พ.ร.บ โรคติดต่อ 2558 เพราะมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย  แม้การใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวจะมีผลทำให้ลูกจ้างไปทำงานให้นายจ้างตามสัญญาได้ไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของทั้งฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง ฉะนั้นลูกจ้างย่อมหลุดพ้นจากหน้าที่ ไม่ต้องไปทำงานให้นายจ้าง แต่ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง และนายจ้างก็ไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง ตามหลัก no work no pay

 

หากเป็นเหตุอันควรสงสัยว่าลูกจ้างติดไวรัสเกิดจากการตรวจวัดร่างกายเพราะมีอาการเป็นไข้ ย่อมถือว่า “ลูกจ้างป่วย”  สามารถใช้สิทธิลาป่วยได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อลูกจ้างแจ้งการใช้สิทธิลาป่วยโดยชอบต่อนายจ้างแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วย

 

เว้นแต่ลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลาเพราะอาจจะไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากลาป่วยเกิน 30 วันแล้วในรอบปี กรณีนี้ลูกจ้างอาจใช้สิทธิหยุดพักร้อนได้ และถ้าหากใช้สิทธิหยุดพักร้อนครบตามสิทธิตามกฎหมาย กฎระเบียบแล้ว ก็อาจตกลงกับนายจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้

 

matemnews.com 

4 มีนาคม 2563