หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ตามมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 คือ ปัญหาบริหารเงินส่วนบุคคล และเพื่อให้ทุกคนได้มีเกาะป้องกันด้านการเงินที่แข็งแกร่ง TIPlife จึงขอนำคำแนะนำการจัดการเงินสู้โควิดมาฝากครับ
.
#ทำบันทึก รายรับ- รายจ่าย เพื่อให้รู้ถึงสถานการณ์การเงิน และรู้ว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ลดได้ หรือลดไม่ได้ โดยอย่าลืมติดตามข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ เพื่ออัพเดตมาตรการช่วยเหลือต่างๆ
.
#จัดการหนี้ โดยติดตามข่าวสารจากทางที่เกี่ยวข้องการบริหารการเงินจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th) และสถาบันการเงินต่างๆ ได้เผยแพร่ความรู้ มาตราการ ช่วยเหลือต่างๆ ทำให้เราได้ทราบถึง มาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้ และช่องทางต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้ ยังมีศูนย์คุ้มครองบริการทางการเงิน (ศคง.) ที่คอยให้คำปรึกษา หรือ ช่องทาง “ทางด่วนแก้หนี้” เพื่อเป็นช่องทางเสริมสำหรับประชาชน และธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยสามารถแจ้งความต้องการไปที่ผ่านทางเว็บไซต์ www.1213.or.th
.
#จัดลำดับ ความสำคัญของค่าใช้จ่าย เพื่อที่เราจะได้ลดค่าใช้จ่ายลง รวมถึงการไม่สร้างภาระหนี้สิ้นเพิ่มครับ โดยวิธีการเลือกของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การจัดกลุ่ม และเรียงลำดับค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ จำแนกเป็น ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าห้อง ค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ซึ่งรายจ่ายพวกนี้จะถูกจัดไว้ในความสำคัญลำดับต้น กลุ่มที่สอง คือ ค่าใช้จ่ายรายวัน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และกลุ่มสุดท้าย ค่าสินค้าที่ยังไม่มีความจำเป็น (สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ) ถัดไปก็ลิสต์รายการที่ควรตัดทิ้ง และสามารถลดค่าใช้จ่ายลง เช่น ค่าไฟฟ้า สามารถลดลงอีกได้ไหม หรือ สำหรับผู้ที่WFH (Work From Home) การที่ค่าไฟฟ้า ไม่ได้เพิ่มขึ้นก็ถือเป็นการลดค่าใช้จ่ายส่วนนึงได้แล้ว ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม สามารถลดลงได้อีกไหม สำหรับการลดค่าใช้จ่ายนั้น ดูเหมือนง่ายแต่ทำยาก เทคนิคง่ายๆ ในการให้เกิดผล ควรต้องมีการตั้งเป้าหมายไว้ และตั้งรางวัลให้กับตัวเราเอง
.
#สร้างรายได้เพิ่ม โดยอาจจะเริ่มต้นจากความสามารถของตัวเองแปลงให้เป็นรายได้ หรือถ้าหากยังคิดไม่ออกว่าจะทำธุรกิจอะไร ก็อาจจะเริ่มง่ายๆ จากการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด เช่น การนำเอาสิ่งของในบ้านที่มีประโยชน์แต่ไม่ได้ใช้งาน มาขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ
.
#ดูแลตัวเอง ให้ดีที่สุด ซึ่งหมายถึงทั้งสุขภาพกายและใจนะครับ เพื่อลดความเสี่ยงค่างๆ เพราะถ้าหากในกรณีที่แย่ที่สุด สุขภาพกายและใจมีปัญหารุนแรง นั้นก็จะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน แม้ว่าจะมีหลายคนได้วางแผนป้องกันความเสี่ยงโดยการทำประกันภัยไว้บ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม มันยังมีค่าใช้จ่ายที่ซ่อนเร้น (Hidden costs) ต้นทุนค่าเสียโอกาสต่าง ๆ ที่จะตามมา ซึ่งแน่นอน เราก็จะต้องวนลูปกลับไปแก้ปัญหาภาระหนี้สินข้างตนต่อไม่จบสิ้น
.
แล้วเราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันครับ
.