#ไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่อยากสร้าง #เงินบำนาญ ให้ตัวเองได้ไหม? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ เรามาเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่า เงินบำนาญคืออะไรกันก่อนนะครับ
.
#เงินบำนาญ คือเงินที่ได้รับเป็นรายเดือนเมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน ซึ่งเดิมที การมีเงินบำนาญสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณอายุจากการทำงาน เป็นสิทธิที่ให้เฉพาะกับข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจบางกลุ่มที่ทำงานครบตามเงื่อนไขที่กำหนด
.
แต่แนวคิดเรื่องการวางแผนการเงินสมัยใหม่และผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายขึ้น ส่งผลให้ใครก็ตามที่มีการวางแผนการเงินเป็นอย่างดี ก็สามารถสร้างเงินบำนาญสำหรับใช้ในยามเกษียณอายุได้เช่นกันนะครับ
.
คำถามต่อมาคือ แล้วจะสร้างเงินบำนาญอย่างไร?
คำตอบคือ ทำได้หลากหลายวิธีเลยครับ ตัวอย่างเช่น…
.
สร้างเงินบำนาญผ่าน #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund) วิธีนี้เหมาะสำหรับพนักงานบริษัทเอกชนหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่นายจ้างมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ ซึ่งการเลือกสร้างเงินบำนาญด้วยวิธีนี้ ผู้รับบำนาญต้องวางแผนการเงินล่วงหน้าเป็นอย่างดี เนื่องจากจำนวนเงินและระยะเวลารับเงินที่จะได้รับขึ้นอยู่กับเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ เช่น ถ้าต้องการมีเงินบำนาญเดือนละ 10,000 บาทหลังเกษียณอายุไปอีก 10 ปี ควรจะต้องมีเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งส่วนของตัวเองและส่วนของนายจ้างรวมกันไม่น้อยกว่า 1,200,000 บาท และถ้าต้องการเงินก้อนด้วยก็ต้องมีเงินมากกว่านี้ และต้องไม่ลืมที่จะดูค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากการรับเงินเป็นงวดประกอบด้วยครับ
.
สร้างเงินบำนาญผ่าน #กองทุนประกันสังคม (social security fund) คนจำนวนไม่น้อยรู้จักสวัสดิการของประกันสังคมในรูปของสิทธิการรักษาพายาบาลเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกับกองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ตามสูตรการคำนวณที่กองทุนประกันสังคมกำหนด การเลือกสร้างบำนาญด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือเป็นบำนาญที่รู้จำนวนเงินแน่นอน และจะจ่ายให้เราไปตลอดชีวิต เนื่องจากได้รับการสนับสนุนโดยภาครัฐ อย่างไรก็ตาม เงินบำนาญในส่วนนี้คิดเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก ซึ่งจากสูตรการคำนวณปัจจุบัน เงินบำนาญรายเดือนที่จะได้รับอยู่ที่ประมาณ 3,000-7,500 บาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ดังนั้นจึงควรมีการออมเงินจากช่องทางอื่นควบคู่กันไปด้วยครับ
.
สร้างเงินบำนาญผ่าน #กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้อยู่ในระบบบำนาญใดๆ ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ โดยส่งเงินตั้งแต่เดือนละ 50 บาท แต่ไม่เกินปีละ 13,200 บาท โดยจะมีภาครัฐสมทบเงินให้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเมื่อส่งเงินครบตามเงื่อนไข เช่น ครบ 10 ปี ก็จะได้สิทธิรับเงินบำนาญตลอดชีวิต การเลือกสร้างบำนาญด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือเหมาะสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่มีเงินส่งต่อเดือนมากนัก ภาครัฐกำหนดเงินส่งขั้นต่ำเพียงเดือนละ 50 บาท และมีเงินสมทบจากภาครัฐอีกด้วย แต่เนื่องจากการส่งเงินต่องวดที่ไม่มาก เงินบำนาญที่จะได้รับหลังเกษียณก็จะคิดเป็นเม็ดเงินที่ไม่มากตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น หากออมเงินเดือนละ 200 ตั้งแต่อายุ 30 ปีจนถึง 60 ปี จะได้เงินบำนาญเดือนละ 879 บาท จึงควรมีการออมเงินจากช่องทางอื่นควบคู่กันไปด้วยครับ
.
สร้างเงินบำนาญผ่าน #ประกันชีวิตแบบบำนาญ (annuity) เป็นการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีการระบุไว้ชัดเจนแต่แรกว่าเป็นประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งบริษัทประกันจะระบุชัดเจนในกรมธรรม์ว่าจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันกี่ปี และจะได้รับเงินบำนาญตั้งแต่อายุเท่าไรไปจนถึงอายุเท่าไร เป็นจำนวนเงินงวดละเท่าใด การเลือกสร้างบำนาญด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือมีตัวเลือกที่หลากหลายให้เราสามารถออกแบบได้เอง และคาดการณ์จำนวนเงินที่จะได้รับล่วงหน้าได้ การสร้างเงินบำนาญด้วยวิธีนี้เป็นการสร้างเงินบำนาญผ่านภาคเอกชน ดังนั้นจึงควรพิจารณาปัจจัยด้านความมั่นคงของบริษัทประกันประกอบด้วย เนื่องจากกว่าจะได้รับบำนาญก็เป็นเวลาสิบหรือหลายสิบปีข้างหน้า
.
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ TIPlife นำมาฝากกันนะครับ จริงๆแล้วเรายังมีอีกหลากหลายวิธีในการสร้างเงินบำนาญของตัวเอง หรือถ้าหากใครสนใจการสร้างเงินบำนาญด้วยประกันชีวิตแบบบำนาญ แต่ยังติดว่าไม่อยากจ่ายหลายปี อยากจ่ายที่เดียวจบ TIPlife จัดให้ครับ
.
#ประกันเกษียณทวีสุข 90/1
ประกันนี้เหมาะสำหรับคนที่วางแผนชีวิตในระยะยาว ชำระเบี้ยเพียงครั้งเดียว มีเงินใช้หลังเกษียณ รับเงินบำนาญปีละ 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุด 31 ปี แถมยังใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000* บาท ไม่ต้องตอบปัญหาสุขภาพ และที่สำคัญ สมัครง่าย เพียงซื้อผ่านแอพ #MyMo นะครับ
.
ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
*เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรกำหนด
.
#SmartPension
#TIPlife #ThePowerBesideYou
#พลังที่เคียงข้างคุณตลอดไป #ทิพยประกันชีวิต #ProductContent