“จริงๆแล้ว ฉันคือประธานบริษัท” ประโยคสุดฮิตในโลกโซเชียลในช่วงที่ผ่านมา ทั้ง อินสตาแกรม ติ๊กตอก ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ยูทูป ก็จะเจอประโยค หรือ มีม เต็มไปหมด แต่ถ้าพูดกันถึงมุมของการเป็นประธานบริษัทมีหลายมิติที่น่าสนใจมากครับ ทั้งเรื่องของภาษีและสิทธิต่างๆ อย่างสิทธิประกันสังคมที่ประธานบริษัทได้ไหม ?
.
เริ่มต้นเราต้องรู้ก่อนว่า ผู้ที่มีสิทธิได้เป็นผู้ประกันตามมาตรา 33 คือลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน โดยลูกจ้างหมายถึง
.
![✅](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/tba/1.5/16/2705.png)
![✅](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/tba/1.5/16/2705.png)
![✅](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/tba/1.5/16/2705.png)
![✅](https://static.xx.fbcdn.net/images/emoji.php/v9/tba/1.5/16/2705.png)
.
แต่ประธานบริษัท มีฐานะเป็น “นายจ้าง” เป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้าง และมักถูกแต่งตั้งให้ทำงานเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท ของบริษัทเป็นหลัก ร่วมถึงส่วนใหญ่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นร่วมด้วย
.
ดังนั้น ในกรณีของประธานบริษัท จึงไม่สามารถเข้าใช้สิทธิประกันสังคมได้เหมือนลูกจ้างตามพรบ.ประกันสังคมครับ นั่นหมายความว่าถ้าเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน ประธานบริษัทก็จะต้องวางแผนเพื่อดูแลตัวเองนะครับ
.