เกมเศรษฐี ศึก
กำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักหน่วงสำหรับช่องดิจิทัลทีวีทั้งหลาย ที่ต่างต้องสร้างจุดขายเรียกเรตติ้งคนดูเพื่อแย่งชิงสัดส่วนจากเค้กก้อนเดิมแต่เพิ่มเติมคือคู่แข่งมากขึ้น จากที่เมื่อก่อนมีเจ้าตลาดเพียงแค่ช่อง 3 และช่อง 7 ที่เป็นตลาด เมื่อเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นยุคดิจิทัลต่างก็มีช่องใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายเพื่อหวังโกยเงินจากธุรกิจทีวี หลายช่องต่างก็ขาดทุนกันย่อยยับเจ็บหนักเจียนตาย และเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้เหล่าเศรษฐีชั้นนำของประเทศไทยก้าวเข้ามาสู่วงการทีวีเพื่อความอยุ่รอดของช่อง
ช่องแรกที่ถูกดีล คือ ช่อง อมรินทร์ ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยครอบครัว อุทกะพันธ์ แต่เนื่องจากขาดทุนมา 2-3 ปีถ้าอยู่แบบนี้ต่อไปมีหวังตายสถานเดียว อมรินทร์จึงตัดสินใจขายหุ้นให้กลุ่มเจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี ในสัดส่วนถึง 47.62% ในราคาเพียง 850 ล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอัมรินทร์ แทนที่ครอบครัว อุทกะพันธ์
ที่บอกว่า 850 ล้านคุ้มยังไงเพราะอัมรินทร์ทีวีนั้นไม่ได้่มีเพียงช่องดิจิทัลทีวีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหนังสือหลากหลายหัว ร้านหนังสือ โรงพิมพ์ และที่ดิน ราคาเท่านี้เรียกว่ากลุ่มเจ้าสัวคุ้มเสียยิ่งกว่า โดยเหตุผลหลักๆที่กลุ่มเจ้าสัวเจริญ เข้ามาซื้อหุ้นของอมรินทร์ก็เพราะที่ดิน เพราะอมรินทร์นั้นมีที่ดินของโรงพิมพ์ในย่านปิ่นเกล้าถือว่าเป็นย่านชั้นดีก็ว่าได้ รวมทั้งยังเป็นช่องทางในการโฆษณาของสินค้าต่างๆ
รายต่อมาก็คือช่องยักษ์ใหญ่ย่านอโศกอย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ต้องหนีเอาตัวรอดจากการขาดทุนในเกมทีวีนี้เช่นกันโดย อากู๋ ไพบูลย์ หัวเรือใหญ่ได้ขายหุ้นของช่อง วัน ให้กับ นายแพทย์ ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ซึ่งเป็นเจ้าของช่อง พีพี ทีวี อยู่แล้วที่ตัดสินใจควักเงินถึง 1,910 ล้านบาทซื้อหุ้นของช่องวัน
รวมถึงช่องน้องเล็กอย่าง จีเอ็มเอ็ม 25 ก็ตัดสินใจต่อลมหายใจขายหุ้นให้กับ ฐาปน สิริวัฒนภักดี ซึ่งไม่ใช่ใครที่ไหนเป็นลูกของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีนั้นเอง เนื่องจากสินค้าในกลุ่มไทยเบฟสามารถเข้ากับกลุ่มคนดูของช่องได้เป็นอย่างดี อากู๋ ไพบูลย์จึงตัดสินใจขายหุ้นไปครึ่งต่อครึ่งถึง 50% ในราคา 1,000 ล้านบาท เนื่องจากเจ็บหนักมากกับการลงทุนธุรกิจกล่อง GMM Z เมื่อครั้งก่อน
รายล่าสุดที่กำลังอยุ่ในช่องเปลี่ยนผ่านคือช่อง now 26 ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยกลุ่มเศรษฐีรุ่นเก่าอย่าง ตระกูล พานิชชีวะ ที่เข้ามาดีลจากกลุ่มเนชั่น เวลานี้ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งหมดของ now 26 ให้เป็นวาไรตี้มากขึ้นจากเดิม
นอกจากนี้ยังมีช่องอื่นๆที่เงินหนามีเจ้าสัวเป้นเจ้าของเดิมอยู่แล้วทั้งช่อง ไทยรัฐของตระกูล วัชรพล ไบร์ททีวีของอดีตผู้บริหารช่อง 5 เก่า voice tv ของตระกูลชินวัตร รวมถึงเศรษฐีในวงการทีวีอย่าง ตระกูลมาลีนนท์ช่อง 3 ตระกูล รัตนรักษ์ ช่อง 7 สี ตระกูล บุนนาค สปริงนิวส์ ตระกูลเหตระกูล นิวส์ 28 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พร้อมฟาดฟันในสงครามทีวีที่ดุเดือดนี้อีกนาน