Home มาเต็มกัญชา อภ.เล็งปลูกกัญชาเมดิคัลเกรด รุ่นถัดไปในรูปแบบ “เรือนกระจก”

อภ.เล็งปลูกกัญชาเมดิคัลเกรด รุ่นถัดไปในรูปแบบ “เรือนกระจก”

902
0
SHARE

วันที่ 9 ก.ค.62 นพ.โสภณ เมฆธน ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) เผยถึงทิศทางการดำเนินการกัญชา เมดิคัลเกรด ภายหลังการปลูกในโรงเรือนระบบปิด ว่า “ขณะนี้กำลังเตรียมแผนในการปลูกกัญชาเมดิคัลเกรดรูปแบบ กรีนเฮ้าส์ (Greenhouse) ซึ่งป็นการปลูกแบบเรือนกระจก มีการใช้แสงจากธรรมชาติ ทำให้ประหยัดค่าไฟเพราะไม่ต้องเปิดไฟตลอดเวลาเหมือนปลูกในโรงเรือนระบบปิด ช่วยลดต้นทุนได้ 7-8 เท่า ตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องสเปกเพื่อให้ได้ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย คาคว่าในเดือนกรกฎคมนี้จะสรุปและดำเนินการได้ในปี 2563”

นพ.โสภณ อธิบายเพิ่มเติมว่า อภ.มีแผนดำเนินการปลูกและผลิตกัญชาทางการแพทย์ ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 อีก โดยระยะที่ 2 คือการเตรียมการปลุกกัญชาเมดิคัลเกรด รูปแบบกรีนเฮ้าส์ คล้ายการปลูกเรือนกระจกมีการใช้แสงจากธรรมชาติ ทำให้ประหยัดค่าไฟ ไม่ต้องเปิดไฟตลอดเวลาเหมือนการปลูกในโรงเรือน หากสำเร็จจะลดต้นทุนได้ 7-8 เท่า

ขณะนี้กำลังศึกษาจะใช้เทคนิคไหนลดความชื้น และสเปกไหนที่จะไม่ร้อนจัด เพราะหากกรีนเฮ้าส์ร้อนเกินไปต้นจะเหี่ยวแห้ง แต่หากใช้เครื่องปรับอากาศให้เย็น จะเกิดความชื้นก่อเชื้อรา จึงต้องดูสเปกและเทคนิคให้เหมาะสม โดยมอบ รศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์พืช คณะเกษตร ม.เกษตรฯ และที่ปรึกษาองค์การเภสัชกรรม เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้

เมื่อถามว่ากัญชาทางการแพทย์กลายเป็นกระแสที่ถูกจับให้เป็นธุรกิจทางการแพทย์ ทางองค์การเภสัชกรรมมีการเตรียมพร้อมเรื่องนี้อย่างไร ประธานบอร์ด อภ.ให้ข้อกิดเห็นว่า อันดับแรกเราต้องมองว่าองค์การฯ ขายอะไร ก็แน่นอนว่าเราเน้นเรื่องยารักษาโรค ซึ่งสารสกัดจากกัญชานำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รองลงมาอย่างในต่างประเทศก็จะมีการจำหน่ายซีบีดีผสมในครื่องสำอาง ในมุมนี้เราก็ต้องมาเตรียมพร้อมว่าจะมีการพัฒนาส่วนนี้ด้วยหรือไม่

นพโสภณ กล่าวว่า ในส่วนซีบีดีนั้น องค์การอนามัยโลกเตรียมเสนอสหประชาชาติปลดล็อกสารซีบีดีออกจากยาสพติดในปี 2563 ก็ต้องรอดูว่าทางสหประชาชาติจะเห็นชอบหรือไม่ หากผ่านตัวซีบีดี หรือที่มีสารทีเอชซีต่ำกว่า 0.2 เปอร์เซ็นต์ ก็จะปลูกในวิสาหกิจชุมชนได้มาก เพียงแต่เราจะมีสายพันธุ์ตามที่กำหนดหรือไม่ วันนี้เรามีสายพันธุ์ซีบีดีแบบกัญชงที่เน้นเส้นใย เราคงต้องเอากัญชาที่มีซีบีดีสูงและจะทำอย่างไรให้พัฒนาสายพันธุ์จนปลูกกลางแจ้งได้

หากทำได้ในอนาคตรเราอาจจำหน่ายต้นอ่อนหรือเมล็ดที่มีซีบีดีสูงก็ได้ ซึ่งก็จะทำเป็นสัญญาร่วมกับเกษตรกรในวิสาหกิจชุมชน คล้ายๆ คอนแทร็กฟาร์มมิ่งก็เป็นได้ เพียงแต่ขณะนี้เราต้องเตรียมตัวและเดินหน้าเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งหมดเป็นเป้าหมายที่เราต้องทำให้ได้ ทั้งตัวยากัญชา สารสกัดซีบีดีเพื่อทำเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และต้นอ่อนหรือเมล็ด แต่ทั้งหมดทั้งปวงตอนนี้ต้องวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ก่อนต้องทำให้ได้ภายใน 1ปี เพื่อให้ได้สายพันธุ์ซีบีดีสูง

อย่างไรก็ตามหากวิสาหกิจชุมชนจะปลูกต้นอ่อนเอง และองค์การเภสัชกรรมทำหน้าที่รับซื้อ ย่อมทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทางการแพทย์ของ อภ. เช่น ไม่มียาฆ่าแมลง ไม่มีโลหะหนัก และจะมีสเปกกำหนดว่าตัวสารทีเอชซี ซีบีดี ต้องเท่าไหร่ เป็นต้น

“เห็นได้ชัดว่าทั้งหมดที่เราดำนินการไม่ได้เป็นการผูกขาดใดๆ ผู้อนุญาตก็เป็น อย. ใครจะปลูกหรือผลิต หรือทำอะไรกี่ยวกับกัญชกางการแพทย์ก็ต้องขออนุญาตและกฎหมายก็ระบุชัดว่า วิสาหกิจชุมชนสามารถปลูกได้แต่ต้องร่วมกับภาครัฐ หรือ

มหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นเราไม่มีสิทธิไปผูกขาด ซึ่งในอนาคตอีก 5 ปีก็ไม่ต้องร่วมกับภาครัฐและจะมีการประมินทุก 6เดือน แต่ทุกวันนี้ก็เกิดพาร์ทเนอร์จับคู่กันเยอะมาก เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หรือ แม้แต่ รพ.เจ้พระยาอภัยภูเบศร ก็เดินหน้าเรื่องนี้ ก็จะเห็นว่าไม่มีการผูกขาดใดๆ” นพ.โสภณ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา องค์การเภสัชกรรม