Home มาเต็มกัญชา มข. เร่งวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ “สารสกัดกัญชา”หลากรูปแบบเสนอ อภ.

มข. เร่งวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ “สารสกัดกัญชา”หลากรูปแบบเสนอ อภ.

909
0
SHARE

องค์การภสัชกรรม (อภ.) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ในการส่งสารสกัดกัญชาเมดิคัลเกรดให้แก่ มข. เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปเบบที่หลากหลายมากขึ้น

                เมื่อวันที่ 19 ก.ค.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล คณบดีแพทยศาสตร์ในฐานะรักษาการแทนอธิการบดี ม.ขอนแก่น กล่าวว่า มข.ร่วมกับ อภ. วิจัยและพัฒนาผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ เพราะมีความพร้อมในแต่ละภาคคณะวิชา ถึง 5 คณะได้แก่
                คณะเกษตรศาสตร์ มข.มีความเชี่ยวชาญด้านการปลูก สามารถควบคุมเพศผู้เพศเมีย และพัฒนาสายพันธุ์กัญชาได้ เพผู้พศมียและพัฒนาสายพันธุ์

                คณะเภสัชศาสตร์ เชี่ยวชาญการค้นคว้าสมุนไพร พัฒนาสารสกัดกัญชารูปแบบใหม่ๆ

                คณะวิทยาศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญด้านเคมี สามารถวิจัยสารที่สกัดจากกัญชาได้มากกว่า 14 ชนิด

                คณะแพทย์ศาสตร์ มีความพร้อมในการนำกัญชมาศึกษาวิจัย
                และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่นำกากช่อดอกกัญชา ซึ่งเหลือจากการสกัดไปทำเป็นอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย

ศ.ดร.ภญ.บังอร ศรีพานิชกุลชัย คณะเภสัชศาสตร์ ในฐานะ คณะกรรมการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนากัญชา เพื่อประโขชน์ทางการแพทย์ มข. กล่าวว่า มข. พัฒนานวัตกรรมยารูปแบบใหม่ 3 แบบ คือ ยาเหน็บทวาร แผ่นฟิล์มเกาะติดเนื้อเยื่อในช่องปาก และ แผ่นแปะซึมผ่านผิวหนัง

โดย “ยาเหน็บ” นั้นเหมาะกับผู้ปวยที่ไม่สามารถรับประทานยาทางปากได้ เช่น ในผู้ป่วยมะร็งระยะสุดท้าย การให้ยาทางทวารหนักถือเป็นช่องทางที่สะดวก

“แผ่นฟิล์มเกาะติดเนื้อเยื่อในช่องปาก” จะเป็นการสอดใต้ดินให้เกิดการละลายและดูดซึมตัวยาได้เช่นเดียวกับการหยดน้ำมันกัญชา แต่จะกำหนดขนาดใช้และปริมาณสารสำคัญได้แม่นยำกว่า

และสุดท้าย “แผ่นแปะซึมผ่านผิวหนัง” ตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังเข้ากระแสเลือด เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ และเริ่มใช้กับยาแผนปัจจุบัน เช่น ยาแก้ปวดบางประเภท ทำให้ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการข้างเคียงจากยาได้

เบื้องต้น ทาง อภ. ให้ทาง มข. จัดทำกรอบกระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน และตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น โดยเน้นสารสกัดกัญชาสายพันธุ์ไทยเป็นหลัก โดยจะใช้สายพันธุ์ที่องค์การเกสัชกรรมมีอยู่แล้ว นอกจากนี้ มข.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เรื่องการปลูกด้วย

อย่างไรก็ตามขณะนี้ มข. วางกรอบการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดกัญชาไว้อย่างน้อย 9 รูปแบบ เช่น สเปรย์ แคปซูลเหลว ยาเม็ดอม และ ครีม เป็นต้น” ศ.ดร.ภญ.บังอร ศรีพานิชกุลชัย กล่าวในตอนท้าย