Home ข่าวทั่วไปรอบวัน แล้งขนาดไหนต้องดู! ถนนประวัติศาสตร์ผ่านลำตะคอง ปี2515 โผล่พ้นน้ำ!

แล้งขนาดไหนต้องดู! ถนนประวัติศาสตร์ผ่านลำตะคอง ปี2515 โผล่พ้นน้ำ!

932
0
SHARE

วันที่ 21 ก.ค.62 จากสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในปีนี้ในพื้นที่เหนือเขื่อนลำตะคอง บนภูเขาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ด้าน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ที่ถือเป็นต้นน้ำลำตะคอง และไหลลงเขื่อนมีปริมาณน้อย แต่ยังโชคดีที่ได้น้ำจากบ่อน้ำผุดธรรมชาดิบ้านท่าช้างต.หมูสีอ.ปากช่องแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่มีน้ำใสสะอาดไหลออกจากใต้ภูเขาออกมาตลอดทั้งปีไหลลงสู่คลองลำตะคอง ลงสู่เขื่อนลำตะคองเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้อุปโภค บริโภค ผลิตน้ำประปาให้ประชาชนชาวเมืองนครราชสีมา และเพื่อเกษตรกรรม
นายชยุรพงศ์ อำรุงสุข ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำคะคอง กล่าวว่า ในการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนที่เก็บกักน้ำทั้ง 4 เขื่อน คือ เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำมูลบน และเขื่อนลำแชะ อยู่ในความดูแลของโครงการชลประทานนครราชสีมา สำนักงานชลประทานที่8เพื่อบริหารจัดการน้ำมาใช้ผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภครวมทั้งเพื่อการเกษตรกรรม

เขื่อนลำตะคองสันเขื่อนดินสูง 40.3 เมตร ยาว 521 เมตรอยู่ในพื้นที่ ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา มีพื้นที่เก็บกักน้ำ 227,000 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มจุ 314 ล้านลูกบาศก์เมตร วันที่ 21 ก.ค.62 น้ำในเขื่อนลำตะคอง มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ประมาณ 133.70 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือเป็นเขื่อนหลักที่นำน้ำปล่อยลงไป ผ่าน อ.สี่คิ้ว อ.สูงเนิน เข้าโรงผลิตน้ำประปามะขามเฒ่า อ.เมืองจ.นครราชสีมา
ส่วนพื้นที่บริเวณด้านท้ายเชื่อนลำตะคอง พื้นที่เก็บกักน้ำด้าน ต.จันทึก ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง พบว่า ปริมาณน้ำเขื่อนลำตะคองลดลงมากจนเกิดเป็นสันดอนเป็นบริเวณกว้างและเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์วัวควายของชาวบ้าน

นอกจากนี้ยังพบว่าถนนมิตรภาพถือเป็นถนนประวัติศาสตร์การก่อสร้างของสหรัฐอเมริกา สระบุรี อดรธานี ผ่านพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนลำตะคอง ซึ่งเลิกใช้เมื่อปี2515 โผล่จากน้ำถือเป็นจดก่องเที่ยวของประชาชนในช่วง เย็นพาเพื่อนและครอบครัวไปนั่งริมน้ำชมแสงอาทิตย์สีส้มคอยลับขอบน้ำยามเย็น บางคนถือโอกาสนำเบ็ดมานั่งตกปลาในช่วงน้ำเขื่อนลดลง

ส่วนที่บึงตะโก น้ำเหลือ0% โดยที่นี่เมื่อปี 2560 นายกฯ เคยเดินทางมาจัดครม. สัญจร แล้วมีการประกาศว่า จะแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่นี่ แต่วันนี้น้ำแห้งเหลือ0% ต้นข้าวแห้งเหี่ยวเตรียมยืนต้นตายอีกเป็นร้อยไร่ ชาวบ้านกว่า 200 หลังคาเรือนถามหาความรับผิดชอบ และการแก้ไข