นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลนำร่อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการการใช้กัญชาทางการแพทย์
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่า การทำเวิร์คชอป ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 6 ด้าน คือ
1.การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แบบผสมผสาน
2.การแพทย์แผนปัจจุบัน ด้านการปลูก การผลิต การกระจาย (supply chain )
3.ระบบบริการการแพทย์แผนปัจจุบัน
4.การกำกับดูแล เช่น การปลดล็อคกัญชง การผลักดันเข้าบัญชียาหลัก ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ถูกกฎหมาย
5.กลไกการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์
6.การจัดการความรู้สื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในภาพรวมกระทรวงสาธารณสุข
คาดว่าในวันที่ 19 ส.ค. 2562 องค์การเภสัชกรรม จะส่งมอบยากัญชาให้โรงพยาบาล 20แห่งได้ แห่งละ 350 ขวด รวม 3,900 ขวด เพื่อแจกจ่ายยากัญชา หรือสารสกัดจากน้ำมันกัญชา มีทั้งสูตร THC และ CBD สูตร THC กับ CBD 1 ต่อ 1 และหรือน้ำมันกัญชาผสมน้ำมันมะพร้าว ตามตำรับแพทย์แผนไทยประยุกต์
การจัดเก็บต้องปฏิบัติตามกฎหมายเนื่องจากน้ำมันกัญชายังจัดเป็นวัตถุเสพติด ประชาชนมารับpkกัญชารักษาโรคได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องผ่านการตรวจประเมินว่า โรคที่ใช้เหมาะสมหรือไม่ ขอย้ำว่า ไม่ใช่ทุกโรคที่จะได้น้ำมันกัญชา
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เปิดคลินิกรับปรึกษา การใช้กัญชาทางการแพทย์ 31 แห่ง ให้บริการมาแล้วระยะหนึ่ง มีผู้มาขอรับคำปรึกษาและลงทะเบียนขอใช้น้ำมันกัญชา 2,000 คน ใช้กัญชาได้จริงแค่ 200 คน ขอยืนยันกัญชาไม่ได้รักษาทุกโรค ก่อนหน้านี้มีผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีแผลที่คอสาหัส ที่ จ.อุบลราชธานี เคยใช้น้ำมันกัญชาเองได้เสียชีวิตแล้ว เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2562 ก็เป็นเครื่องยืนยันว่ากัญชาไม่ได้รักษามะเร็งได้ แต่จากประวัติผู้ป่วยรายนี้ใช้น้ำมันกัญชาเพื่อบรรเทาอาการ ให้มีคุณภาพชีวิตดี กินอิ่ม นอนหลับ และมีการเพิ่มขนาดน้ำมันกัญชาขึ้นเรื่อยทีละหยด จาก 1 เป็น 2 หยด และ 20 หยดในที่สุด สาเหตุการเสียชีวิตพบว่าปอดอักเสบ
matemnews.com
14 สิงหาคม 2562