Home บันเทิง “ริชชี่ อรเณศ”อาสาพาขึ้นดอยบ้านเกิด ชิมชาอัสสัม พันธุ์ชาพระราชทาน ที่ชุมชนปู่หมื่น จ.เชียงใหม่

“ริชชี่ อรเณศ”อาสาพาขึ้นดอยบ้านเกิด ชิมชาอัสสัม พันธุ์ชาพระราชทาน ที่ชุมชนปู่หมื่น จ.เชียงใหม่

3424
0
SHARE

บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และชื่นมื่น เมื่อนักแสดงสาว ริชชี่ อรเณศ ดีคาบาเลส ดารานักแสดงสาวจาก ช่อง 3 พาขึ้นดอยบ้านเกิด พบปะชาวเขาเผ่าลาหู่บนดอยปู่หมื่น จ.เชียงใหม่ ซึ่งงานนี้เจ้าตัวก็บอกว่าเป็นปลื้มแบบสุดๆ ที่ได้รับเกียรติจากทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำโดย นาย อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมกิจกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กับกิจกรรม  Village Tourism 4.0 ภายใต้โครงการ Village To The World ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น ขานรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความเจริญและยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชนบทให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และก็ยังเป็นบ้านเกิดของสาวริชชี่ด้วย

ได้มีโอกาสเจอสาวริชชี่ ก็เลยได้อัพเดทถึงผลงาน และเห็นว่าตอนนี้เจ้าตัวก็จะกลับมาสานต่อช่วยงานที่ดอยปูหมื่นอีกด้วย โดยริชชี่กล่าวว่า “ช่วงนี้ที่หายไปเพราะว่าเรียนหนัก ทำให้รับงานละครได้แค่ปีละเรื่อง เพราะแบ่งคิวเรียนด้วย แบ่งคิวแข่งแบดมินตันด้วย แต่ก็ได้วางแผนไว้ว่าเรียนจบแล้ว อยากจะกลับมาสานต่องานที่บ้าน ทั้งโฮมสเตย์ ที่ดอยปู่หมื่น อยากจะต่อยอดธุรกิจของครอบครัว และอยากจะลองทำเสื้อผ้าของชาวลาหู่ให้เข้ากับยุคสมัย และตอนนี้ก็กำลังทำแบรนด์ชากับพี่สาวอยู่ ลองทำให้มีรสชาติใหม่ๆให้ทุกคนดื่มได้ และเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้าน ส่วนชาอัสสัมของที่นี่ ก็จะนำไปจำหน่ายที่งานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 45 ในวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2560 ณ อิมแพ็คชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ฮอลล์ 3 และ 4 ในบูธก็จะมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย อย่าลืมแวะไปช้อปกันนะคะ”

ซึ่งงานนี้สาวริชชี่ก็อาสาพาเที่ยวดอยปู่หมื่น เพราะที่นี่ถือเป็นชุมชนที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว ที่อยู่ท่ามกลางภูเขาสูง อากาศเย็นสบาย เช้าๆก็มีไอหมอกลอยต่ำมาคลอเคลีย และหากใครชอบกิจกรรมท้าทาย ที่นี่ก็มีเส้นทางเดินป่าเพื่อชมธรรมชาติและความงามของน้ำตก นั่นคือ ‘น้ำตกปู่หมื่น’ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า“น้ำตกงวงช้าง” นอกจากนี้นักท่องเที่ยวจะได้ลิ้มลองรสชาติอาหารลาหู่แบบดั้งเดิม พร้อมทั้งได้เรียนรู้วิถีชีวิตแบบชาวลาหู่อีกด้วย ส่วนกิจกรรมไฮไลท์บนดอยปู่หมื่นแห่งนี้เป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการเก็บใบชาอัสสัม ซึ่งเป็นชาที่ชาวบ้านเคยได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชนบนดอยปู่หมื่นจนถึงปัจจุบัน