วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เงาสะท้อนสื่อไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 กุมภาพันธ์ 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,259 หน่วย ตัวอย่าง เกี่ยวกับจริยธรรม/จรรยาบรรณต่อการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน และความจำเป็นต่อการปฏิรูปสื่อมวลชนไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อ
ฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงจริยธรรม/จรรยาบรรณต่อการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 11.91 ระบุว่า มีจริยธรรม/จรรยาบรรณมาก ร้อยละ 47.18 ระบุว่า ค่อนข้างมีจริยธรรม/จรรยาบรรณ ร้อยละ 33.60 ระบุว่า ไม่ค่อยมีจริยธรรม/จรรยาบรรณ ร้อยละ 6.36 ระบุว่า ไม่มีจริยธรรม/จรรยาบรรณเลย และร้อยละ 0.95 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.12 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรตนเอง ร้อยละ 24.23 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว อย่างเป็นกลาง ร้อยละ 21.13 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว แบบเลือกข้าง ร้อยละ 19.86 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลที่ยังไม่มีการตรวจสอบความจริง ร้อยละ 12.07 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลจริงที่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 11.28 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน และร้อยละ 1.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงประสิทธิภาพของสมาคม/องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่อการควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชนไทยในการทำข่าว/รายงานข่าว พบว่า ร้อยละ 13.03 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก ร้อยละ 42.02 ระบุว่า ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 32.64 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.61 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 2.70 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความจำเป็นเร่งด่วนต่อการปฏิรูปสื่อมวลชนไทย พบว่า ร้อยละ 50.20 ระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอย่างมาก ร้อยละ 30.82 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ร้อยละ 12.23 ระบุว่า ไม่ค่อย
เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ร้อยละ 4.92 ระบุว่า ไม่เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนเลย และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ