จากโพสคำถามเรื่องการเก็บเงิน TIPlife ได้แนะนำไปว่าสิ่งสำคัญหากอยากจะประสบความสำเร็จาทางการเงินได้ก็คือ การวางเป้าหมาย และเป้าหมายนั้นต้องชัดเจนและมีความสอดคล้องกัน
ดังนั้น วันนี้จึงอยากมาแนะนำหลักการวางเป้าหมายตามหลัก SMART ให้กับทุกท่านที่อยากออมเงินนะครับ
.
1. #มีความชัดเจน (Specific) เป้าหมายที่ดีต้องบอกให้ชัดไปเลยว่าเป้าหมายของเรานั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นแบบไหน ไม่คลุมเครือ เพื่อทำให้เป้าหมายของเรานั้นสามารถจับต้องได้ เช่น เราอยากมีเงินออมเพื่อเอาไปสร้างบ้าน เราจะเอาเงินไปแต่งงาน เป็นต้น
.
2. #ระบุจำนวนเงินได้ (Measurable) เป้าหมายที่จะวัดผลได้ก็ต้องเป็นตัวเลขหรือตัวเงินที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยทำให้เรารู้ได้ว่า อีกนานแค่ไหนที่เราจะทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ เช่น เราอยากออมเงินไปสร้างบ้านราคา 3 บาท แต่ตอนนี้มีเงินอยู่ 100,000 บาท แสดงว่าเป้าหมายของเรายังขาดอีก 2,900,000 บาท
.
3. #มีวิธีการที่ทำให้สำเร็จได้ (Accountable) สองตัวแรกที่เราตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจนและวัดผลได้นั้น จะช่วยให้เรารู้ว่าเราจะทำแบบไหนดีให้ไปถึงเป้าหมายของเรา เช่น แผนบ้านของเรายังขาดอีก 2,900,000 บาท เพื่อเงินก้อนนี้เราอาจจะต้องเอาเงินเดือนละ 20,000 บาทมาลงทุนเพื่อทำให้เงินโตได้เร็วกว่าการฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว แต่อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญหากเราจะเลือกวิธีอะไร เราควรต้องมีความรู้และเข้าใจในวิธีนั้นๆนะครับ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อที่ 4 ครับ
.
4. #เป็นจริงได้ (Realistic) เป้าหมายที่เราตั้งมานั้นจะต้องสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของเรา สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น แผนการสร้างบ้าน หากเราดูรายรับรายจ่ายแล้ว การหาเงินเดือนละ 20,000 บาทเพื่อนำไปลงทุน ทั้งๆที่เราไม่มีความรู้ความเข้าใจ ก็มีโอกาสที่เงิน20,000 นั้น อาจจะกลายเป็นศูนย์ได้นะครับ หรือ ถ้าดูรายรับรายจ่ายแล้ว การหาเงิน 20,000 บาทเพื่อนำไปลงทุนเรายังทำไม่ได้ เราก็ควรต้องปรับจำนวนเงินลงมาเพื่อให้ทำได้จริงนะครับ
.
5. #กำหนดระยะเวลาแน่นอน (Time Bound) เราต้องบอกให้ได้ว่าเป้าหมายทางการเงินของเรานั้นอยากเห็นผลเมื่อไร เพราะถ้าไม่กำหนดเวลาไว้ เราก็จะทำไปแบบเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะทำได้ตามเป้าหมายของเราสักที และสุดท้ายก็จะทำให้แผนของเราไม่สำเร็จครับ และที่สำคัญระยะเวลาจะเป็นตัวที่บอกเราด้วยว่า เราควรต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ และมีความเป็นไปได้ไหม เช่น หากเราอยากเก็บเงินสร้างบ้านภายใน 5 ปี หลังละ 3 ล้านบาท ต้องเก็บเงินเพิ่มอีก 2,900,000 บาท และหากเราไม่มีความรู้เรื่องการลงทุน แสดงว่าเราต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเดือนละเกือบ 50,000 บาท เพื่อให้เป้าหมายเป็นไปตามเวลาที่กำหนด พอเห็นตัวเลขแบบนี้ เราก็จะพอบอกได้แล้วครับว่าแผนนี้เราควรปรับตรงไหน
.
หวังว่าหลัก SMART จะทำให้ทุกคนสร้างเป้าหมายการเเงินได้มีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จกับแผนที่วางไว้นะครับ
.